วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)


ตรวจสอบทบทวน(Self-Test)
2. หลักสูตรมีความสำคัญหรือจำเป็นต่อการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
          ตอบ หลักสูตรนั้นมีความสำคัญกับการเรียนการสอนโดยตรง โดยจะแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการมีอะไรบ้าง จะสอนอะไร เช่น

          1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้เรียนหรือประชาชน คือ ผลผลิตของการศึกษา ดังนั้น คุณภาพของประชาชนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้ผ่านการศึกษามีคุณสมบัติอย่างไร
          2. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา เพราะหลักสูตรจะบอกให้ทราบว่าการจักการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของชาติว่ามุ่งทิศทางใด ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการเรียนการสอยจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
           3. หลักสูตรเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของครู  เพราะหลักสูตรจะบอกให้ครูรู้ว่าควรพัฒนาผู้เรียนด้านใด จะสอนด้วยเนื้อหาสาระอะไร และควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
           4. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
                  4.1 มาตรฐานประการแรก  สถาบันการศึกษา หรือโรงเรียนจะต้องสอนให้ถึงมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดไว้ คือ สอนให้ครบตามหลักสูตรที่วางไว้
                  4.2 มาตรฐานประการที่สอง หมายความว่า  หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้ทุกสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นด้วนวัตถุประสงค์เดียวกัน ได้จัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอน
           5. หลักสูตรเป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญของประเทศ เนื่องจาการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน ดังนั้น ประเทศใดจัดหารศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาสังคมและชาติเป็นไปอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น


กิจกรรม(Activity)


กิจกรรม(Activity)   
          2. อุปมาอุปมัย : เมื่อการศึกษาเปรียบเทียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์ หลักสูตรเปรียบเทียบได้กับสิ่งใด 
          ตอบ หลักสูตรก็เปรียบได้กับรถยนต์ ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ รถผลิตในประเทศ รถนำเข้าจากต่างประเทศ เล็กบ้างใหญ่บ้าง มีทั้งเก่าและใหม่ บางคนก็แสวงหารถใหม่มาใช้ แต่บางคนก็ยังอนุรักษ์ของเก่าอยู่ แต่บางคนก็มี ทั้งสองอย่าง เลือกใช้ตามภารกิจและตามความพอใจ คือวิ่งระยะใกล้-ระยะไกล วิ่งนอกเมือง-ในเมือง สำหรับไปงานพิธีการหรือส่วนตัว ซึ่งก็เช่นเดียวกับความหมายของหลักสูตรที่มีความหลากหลาย มีทั้งหลักสูตรในระบบโรงเรียน-นอกระบบโรงเรียน อาจเป็นรายวิชา เป็นหน่วย เป็นแผนการ หรือโครงการ ซึ่งผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ จะเลือกใช้แบบใดก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ ภายในหลักสูตรยังประกอบไปด้วยรายละเอียดของโครงสร้างหลักสูตร เช่น หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการ เป็นต้น เช่นเดียวกับรถยนต์ซึ่งมีชิ้นส่วนต่างๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวรถ และทุกชิ้นส่วนล้วนมีความสำคัญที่ประกอบเข้ากันตามขั้นตอน หรือเป็นระบบ และรถยนต์จะวิ่งไปไม่ได้ถ้าปราศจากคนขับ และไม่มีถนน เช่นเดียวกับหลักสูตรจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่นำไปใช้ หรือผู้ปฏิบัติ ถึงแม้หลักสูตรจะดีอย่างไร แต่ถ้าผู้ใช้ไม่เข้าใจ ใช้ได้ไม่ดีไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ย่อมไม่บรรลุเป้าหมาย รถยนต์ต้องวิ่งไปตามเส้นทาง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ หัวใจสำคัญคือ คนขับ ระหว่างทางอาจเจอสภาพปัญหามากมาย เช่นทางแคบ ทางโค้ง ฝนตก ถนนลื่น เช่นเดียวกับผู้ที่นำหลักสูตรไปใช้ ต่างก็พบปัญหาและอุปสรรคมากมาย เช่นความไม่ชัดเจนของตัวหลักสูตร ความไม่เข้าใจของตัวครู ความไม่สนใจของนักเรียน ความไม่ใส่ใจของผู้บริหาร ขาดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นต้น



ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom


ทฤษฎีการเรียนรู้ของBloom (Bloom’s Taxonomy)


Bloom เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน และได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
ได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน  คือ



1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความคิด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย  6 ระดับ ได้แก่
1.1 ความรู้ (Knowledge) เป็นความสามารถในการจดจำแนกประสบการณ์ต่างๆ และระลึกเรื่องราวนั้นๆ ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ
          1.2 ความเข้าใจ (Comprehension) เป็นความสามารถบ่งบอกใจความสำคัญของเรื่องราวโดยการแปลความหลัก ตีความได้ สรุปใจความสำคัญได้
          1.3 การนำความรู้ไปประยุกต์ (Application) เป็นความสามารถในการนำหลักการ กฎเกณฑ์และวิธีดำเนินการต่างๆของเรื่องที่ได้รู้มา นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ได้
          1.4 การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวที่สมบูรณ์ให้กระจายออกเป็นส่วนย่อยๆ ได้อย่างชัดเจน
          1.5 การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการผสมผสานส่วนย่อยเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกัน
โดยปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้นและมีคุณภาพสูงขึ้น
                 1.6 การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความสามารถในการวินิจฉัยหรือตัดสินกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไป การประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้เกณฑ์คือ มาตรฐานในการวัดที่กำหนดไว้ 
2. จิตพิสัย (Affective Domain) (พฤติกรรมด้านจิตใจ)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ จะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อยๆ
 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้                                                                                                        
2.การตอบสนอง
3.การเกิดค่านิยม
4.การจัดระบบ
5.บุคลิกภาพ
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) (พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท)
     พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะประกอบด้วย 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้
2.กระทำตามแบบ
3.การหาความถูกต้อง
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจ
5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
จากทฤษฎีดังกล่าวคือผู้เรียนทุกคนนั้นต้องมีพื้นฐานในการเรียนรู้ทุกคน  แต่อาจจะไม่เท่ากันเพราะคนเรามีการเรียนรู้ที่ต่างกัน  บางคนพบเจอสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นก็จะมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างจากคนอื่น
แต่ถ้าผู้เรียนมีพื้นฐานในการเรียนรู้คล้ายๆกันมีความรู้ ความเข้าใจ มีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์คล้ายๆ กัน  ผลการเรียนรู้ของคนกลุ่มนี้ก็จะคล้ายกันด้วย
การที่ผู้เรียนจะเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นผู้เรียนจะต้องมีความกระตือรือร้นตลอดเวลา  ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เราจะเรียนรู้  เมื่อมีความเข้าใจแล้วต้องวิเคราะห์ให้ได้ก่อนจากนั้นถึงจะประเมินค่า จากทฤษฎีดังกล่าวกล่าวว่ามนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ  ทุกสิ่งนี้ต้องดำเนินไปอย่างพร้อมๆกัน  ถึงจะเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ


ความสำคัญและองค์ประกอบของหลักสูตร


บทที่ 1 การศึกษา การพัฒนามนุษย์ กับหลักสูตร
ความสำคัญของหลักสูตร
          หลักสูตรเปรียบเสมือนตัวแม่บทหรือหัวใจของการศึกษาที่ถือเป็นแก่นสำคัญในการวางแนวทางการจัดการศึกษา เป็นตัวกำหนดทิศทางของการศึกษาในการที่จะให้ความรู้ การเสริมสร้างเจตคติ ตลอดทั้งการฝึกฝนในด้านต่างๆเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนารอบด้าน
           สุมน อมรวิวัฒน์ (2530:92) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนว่า หลักสูตรเป็นตัวกำหนจุดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ นั่นคือกำหนดจุดหมายปลายทางหรือลักษณะของผู้เรียนที่จะเป็นผลผลิตของการศึกษา อย่างไรก็ตามหลักสูตรจะถูกกำหนดโดยเป้าหมายทางการศึกษาอีกที่หนึ่ง
          อุทัย  บุญประเสริฐ (2531:179) ได้กล่าวถึงความสำคัญของหลักสูตรไว้ว่า หลักสูตรเป็นธงชัยในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือสถานศึกษา เป็นแผนแม่บทกำกับการทำงานทุกด้านของโรงเรียน
          ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2535:38-39)ให้แนวคิดว่า หลักสูตรเป็นหลักและหัวใจของการจัดการเรียนการสอน ทำให้การศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายที่วางไว้และทำให้การศึกษามีประสิทธิภาพ หลักสตรจึงเป็นเสมือนแบบแปลนสำหรับการเรียนการสอน
            อาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรนั้นมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนโดยตรง จะแสดงให้เห็นว่า วัตถุประสงค์ของการสอนที่ต้องการมีอะไรบ้าง จะสอนอะไร เป็นต้น
            จากความสำคัญข้างต้น อาจสรุปความสำคัญของหลักสูตรได้ดังนี้
            1. หลักสูตรเป็นเสมือนเบ้าหลอมพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ เนื่องจากผู้เรียนหรือประชาชน คือ ผลผลิตของการศึกษา ดังนั้น คุณภาพของประชาชนจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้ผ่านการศึกษามีคุณสมบัติอย่างไร
            2. หลักสูตรเป็นโครงการและแนวทางในการให้การศึกษา เพราะหลักสูตรจะบอกให้ทราบว่าการจักการศึกษานั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไร จะจัดการเรียนการสอนอย่างไร สิ่งเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพรวมของการจัดการศึกษาของชาติว่ามุ่งทิศทางใด ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายกับการจัดการเรียนการสอยจะได้ดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน
            3. หลักสูตรเป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติงานของครู  เพราะหลักสูตรจะบอกให้ครูรู้ว่าควรพัฒนาผู้เรียนด้านใด จะสอนด้วยเนื้อหาสาระอะไร และควรจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ใดให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
            4. หลักสูตรเป็นมาตรฐานของการศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ คือ
                    4.1 มาตรฐานประการแรก  สถาบันการศึกษา หรือโรงเรียนจะต้องสอนให้ถึงมาตรฐานที่หลักสูตรกำหนดไว้ คือ สอนให้ครบตามหลักสูตรที่วางไว้

                    4.2 มาตรฐานประการที่สอง หมายความว่า  หลักสูตรเป็นเกณฑ์มาตรฐานให้ทุกสถาบันการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นด้วนวัตถุประสงค์เดียวกัน ได้จัดการศึกษาที่เป็นแบบแผนที่เป็นมาตรฐานเดียวกันในการจัดการเรียนการสอน
           5. หลักสูตรเป็นเครื่องบ่งชี้ความเจริญของประเทศ เนื่องจาการศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาคน ดังนั้น ประเทศใดจัดหารศึกษาโดยมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันต่อเหตุการณ์ และการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ย่อมได้กำลังคนที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาสังคมและชาติเป็นไปอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น
องค์ประกอบของหลักสูตร
           องค์ประกอบของหลักสูตร หมายถึง ส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นหลักสูตรซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้หลักสูตรนั้นสมบูรณ์เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียน การสอน การประเมินผลและการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร โดยนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ดังนี้
Tyler กล่าวถึง องค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้

          1. จุดมุ่งหมาย (education purpose) ที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล
          2. ประสบการณ์ (education experience) ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้จุดมุ่งหมายบรรลุผล
          3. วิธีการจัดประสบการณ์ (organization of education experience) เพื่อให้การสอนเป็นไปอย่าง
ประสิทธิภาพ
          4. การประเมินผล (determiation of what to evaluate) เพื่อตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

Taba กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้
          1. วัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ
          2. เนื้อหาและจำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา
          3. วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
          4. วิธีการประเมินผล
ธำรง บัวศรี กล่าวถึง องค์ประกอบที่สำคัญของหลักสูตรว่ามี ดังต่อไปนี้
          1. เป้าประสงค์และนโยบายการศึกษา (education goals and policies) หมายถึงสิ่งที่รัฐต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษา
          2. จุดหมายของหลักสูตร (curriculum aims) หมายถึงผลส่วนรวมที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียน หลังจากเรียนจบหลักสูตรไปแล้ว
          3. รูปแบบและโครงสร้างหลักสูตร (types and structures) หมายถึง ลักษณะและแผนผังที่แสดงการแจกแจงวิชาหรือกลุ่มวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์
          4. จุดประสงค์ของวิชา (subject objectives) หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนวิชานั้นไปแล้ว
          5. เนื้อหา (content) หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ทักษะและความสามารถที่ต้องการให้มีรวมทั้งประสบการณ์ที่ต้องการให้ได้รับ
          6. จุดประสงค์ของการเรียนรู้ (instructional objectives) หมายถึงสิ่งที่ต้องการให้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ ได้มีทักษะและความสามารถ หลังจากที่ได้เรียนรู้เนื้อหากำหนดไว้
          7. ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน (instructional strategies) หมายถึงวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมและมีหลักเกณฑ์ เพื่อให้บรรลุผลตามจุดประสงค์ของการเรียนรู้
          8. การประเมินผล (evaluation) หมายถึงการประเมินผลการเรียนรู้เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนและหลักสูตร
          9. วัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (curriculum materials and instructional media) หมายถึงเอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นฟิล์ม แถบวีดิทัศน์ ฯลฯ และวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์โสตทัศนศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาและอื่น ๆ ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพการเรียนการสอน
           จากแนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของหลักสูตรที่นักการศึกษาและผู้ศึกษาทางด้านหลักสูตรได้กล่าวไว้ ผู้เขียน สามารถสรุปได้ว่า องค์ประกอบหลักของหลักสูตรจะประกอบไปด้วย 4 ประการที่สำคัญ โดยทั้ง 4 ประการนั้นต่างมีความสัมพันธ์ต่อกันดังนี้
          1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (objective) เพื่อสร้างแนวทางในการจัดการศึกษาว่าหลักสูตรนั้นๆ มุ่งให้ผู้เรียนป็นไปในลักษณะใดบ้าง เช่น ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ หลังจากจบการศึกษาระดับนั้นๆ เเล้ว เป็นต้น
          2. เนื้อหา (content) เป็นเนื้อหาสาระที่กำหนดไว้ โดยจะต้องครอบคลุมถึงทั้งด้านความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมต่างๆ ด้วย เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่วางไว้
          3. การนำหลักสูตรไปใช้ (Curriculum implementation) กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนซึ่งครูผุู้สอนจะมีบทบาทมากที่สุดสำหรับองค์ประกอบนี้ โดยถือว่าการสอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการนำเนื้อหาในหลักสูตรนั้นๆไปใช้
          4. การประเมินผล (evaluation) เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าหลักสูตรนั้นๆ บรรลุจุดมุ่งหมายหรือไม่ แก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาหลักสูตรต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ประมวลการสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร














ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร


สงัด อุทรานันท์ ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนหลักสูตรว่า“ การพัฒนา ” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Development” มีความหมายอยู่ 2ลักษณะ คือ
          •  การทำให้ดีขึ้นหรือทำให้สมบูรณ์ขึ้น
          •  การทำให้เกิดขึ้น
          ด้วยเหตุนี้การพัฒนาหลักสูตรจึงมีความหมายใน 2 ลักษณะ คือ การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น กับการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลย
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่นๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2525 : 10) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามจุดหมายที่กำหนดไว้ หรือการพัฒนาหลักสูตรและการสอนคือ ระบบโครงสร้างของการจัดโปรแกรมการสอน กำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การปรับปรุงตำรา แบบเรียน คู่มือครู และสื่อการเรียนต่าง ๆ การวัดและประเมินผลการใช้หลักสูตรการปรับปรุงแก้ไข และการให้ การอบรมครูผู้ใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรและ การสอน รวมทั้งการบริหารและบริการหลักสูตร   
 สงัด อุทรานันท์ (2532 : 33) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การดำเนินการจัดทำหลักสูตรขึ้นมาใหม่ หรือจัดทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
สุเทพ อ่วมเจริญ (2557: 10) ได้กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึงกระบวนการสร้างและทดสอบคุณภาพของหลักสูตรที่นำวิธีการเชิงระบบมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะการนำกระบวนการวิจัยและพัฒนามาใช้ในการสร้างและทดสอบคุณภาพหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น
เนตรชนก  ฤกษ์หร่าย (2552,น.45-46) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือเป็นการสร้างหลักสูตรใหม่เพื่อให้มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม ชุมชน ท้องถิ่น มีความเหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้เรียน พัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา รับผิดชอบตนเองและสังคมได้
เมทินี  จำปาแก้ว (2550,น.10) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยการนำหลักสูตรเดิมมาปรับ โดยการจัดการเรียนการสอนที่สัมพันธ์สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียนมากขึ้น ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การวางแผนจัดทำหรือยกร่างหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินผลหลักสูตร
สมนึก  ทองเพ็ชร (2552,น.8) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะสมสอดคลองกับความต้องการของผู้เรียน ทั้งด้านสภาพเศรษฐกิจและสังคม ให้ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้
อรอนงค์  บุญแผน (2552,น.10) กล่าวไว้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การสร้างหลักสูตรใหม่หรือการปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการที่พัฒนาหรือปรับปรุงให้ดีนั้นจะต้องมีการใช้จริงแล้วผ่านกระบวนการประเมินหลักสูตรแล้วเห็นสมควรแล้วว่าจะต้องมีการปรับปรุง บางครั้งหลักสูตรที่ใช้อยู่อาจจะดีอยู่แล้วแต่ต้องการพัฒนาเพื่อไม่ให้หลักสูตรล้าหลัง
การสังเคราะห์ความหมายของ ภาวิณี เดชขันธ์
          ภาวิณี เดชขันธ์ ได้กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง  การพัฒนาหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้หลักสูตรมีประสิทธิภาพสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ และพัฒนาให้ผู้เรียนมีความเจริญทั้งด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา