วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
ลักษณะสำคัญของหลักสูตร
1. จุดหมายของหลักสูตรมีขอบข่ายกว้างขวางกว่าหลักสูตรรายวิชา
ขอบข่ายอาจครอบคลุมไปถึงสังคมด้วย จะเห็นได้จากการที่จุดหมายของหลักสูตรประถมศึกษา
พ.ศ.2503 ครอบคลุมการฝึกอบรมเพื่อนำไปสู่คุณลักษณะที่เกี่ยวกับการตระหนักในตน
มนุษย์สัมพันธ์ความสามารถในการครองชีพ และความรับผิดชอบตามหน้าที่พลเมือง
2. จุดประสงค์ของแต่ละหมวดวิชา เป็นจุดประสงค์ร่วมกันของวิชาต่างๆ
ที่นำมารวมกันไว้ ตัวอย่าง เช่น ในหมวดของสังคมศึกษาของประถมศึกษาตอนปลาย พ.ศ.2503
ซึ่งประกอบด้วยวิชาศีลธรรม หน้าที่พลเมือง ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
ได้กำหนดจุดประสงค์ของหมวดวิชาครอบคลุมวิชาทั้งสี่นี้เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนขอนำเอาจุดประสงค์ทั้งหมด
(ซึ่งในหลักสูตรเรียกว่าความมุ่งหมาย) มาเสนอไว้ในที่นี้ด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2503 หน้าที่ 1)
1.
ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและทางสังคม
2.
ให้เด็กมีความรู้และความรู้สึกซาบซึ้งในความเป็นมาในการเมืองของสังคม และทางวัฒนธรรม
ซึ่งแต่ละชาติได้สร้างสมกันมาตามประวัติศาสตร์
3.
ให้เด็กยอมรับคุณค่าในทางศีลธรรมและวัฒนธรรม และยินดีปฏิบัติตามด้วยความจริงใจ
4. ให้เด็กมีความเข้าใจว่า
สมาชิกของสังคมย่อมมีหน้าที่อำนวยประโยชน์ให้แก่สังคมตามวิถีทางของเขา สอนให้เด็กได้รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา
ฐานะทางเศรษฐกิจ และฐานะทางสังคมของบุคคลนั้น
5.
ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลกับระบอบการปกครองในปัจจุบัน
6. ให้เด็กรู้จักสิทธิและหน้าที่
ตลอดจนความรับผิดชอบซึ่งพลเมือง แต่ละคนพึงมีต่อสังคมประชาธิปไตย
โดยเฉพาะในเรื่องความมั่นคง และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศชาติ
7. ให้เด็กมีความรู้
ความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับการผลิต การบริโภค และการสงวนทรัพยากรของสังคม
8. ให้เด็กรู้จักเหตุผล รู้จักประเมินผล
ยอมรับหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา
กิจกรรม (Activity)
กิจกรรม
(Activity)
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์
เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
ตอบ
ประเภทของหลักสูตร การแบ่งประเภทของหลักสูตรเป็นการแบ่งตามแนวคิด ปรัชญา
และทฤษฎีของ การศึกษา ประเภทของหลักสูตรออกได้เป็น 9 แบบ ดังนี้
1.
หลักสูตรรายวิชา (Subjective Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรดั้งเดิม
โดยเน้น เนื้อหาสาระซึ่ งลักษณะหลักสูตรแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้
อหาสาระ
2.
หลักสูตรสหพันธ์ (Correlated Curriculum) หลักสูตรที่นําเอาเนื้
อหาของวิชาอื่นที่มีความสัมพัน์กันมารวมเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ
2 วิชา โดยไม่ทําลาย ขอบเขตวิชาเดิม คือ ไม่ได้มีการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน
3.
หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) เป็นการจัดหลักสูตรที่มุ่งเน้นรายวิชา
โดยสร้างจากเนื้ อหาวิชาที่เคยแยกสอนให้เป็นวิชาเดียวกัน
แต่ยังคงรักษาเนื้อหาพื้นฐานของแต่ ละวิชาไว้
4.
หลักสูตรหมวดวิชา (Board Field Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีลักษณะ หลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสหสัมพันธ์และหลักสูตรแบบผสมผสาน
5.
หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน
ของวิชาอื่นๆ โดยเน้นเนื้อหาด้านสังคมและหน้าที่ พลเมือง เพื่ อการแก้ปัญหา
6.
หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้เกิดทักษะกระบวนการ
7.
หลักสูตรที่ เน้นสมรรถฐาน (Competency or Performance base
Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจุดมุ่งหมาย
กิจกรรม การเรียนการสอน และ ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน
8.
หลักสูตรที่ เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities
and Problem Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของแต่ละกลุ่ม
9.
หลักสูตรที่ เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual
Needs and Interest Curriculum) เป็นหลักสูตรที่
เน้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เช่น การเน้นที่ผู้เรียน
การเน้นที่ประสบการณ์
การออกแบบหลักสูตร
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
การออกแบบหลักสูตร (curriculum design)
การจัดรายละเอียดองค์ประกอบของหลักสูตร
ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย จุดหมาย เนื้อหาสาระ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และการประเมินผล ดังนั้นหากจะเปรียบการพัฒนาหลักสูตร คือ การสร้างบ้าน
การออกแบบหลักสูตรก็คือการออกแบบให้ได้มาซึ่งพิมพ์เขียว หรือรูปแบบของบ้าน
ที่มีรายละเอียดของห้องต่าง ๆ เป็นการจัดส่วนประกอบต่าง ๆ
ของบ้านให้เหมาะสมกลมกลืน เหมาะกับการใช้งาน
ส่วนประกอบหลักสูตร 4 ส่วนหลัก
1.เป้าหมาย
จุดหมาย และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมการเรียนการสอน
4.การประเมินผล
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
หลักสูตรประเภทต่างๆ
ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละ
รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย
หรือเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามระดับการศึกษา
ดังนั้นหลักสูตรแต่ละรูปแบบจึงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
รวมทั้งต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของหลักสูตร
(curriculum
desigh) แบบต่าง ๆ ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 10รูปแบบได้ดียิ่งขึ้น
จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1.
หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก
(disciplines
/ subjects curriculum) กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน
มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 หลักสูตรรายวิชา
หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter curriculum)
1.2 หลักสูตรกว้าง
หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา (fusion
-curriculum)
1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา
หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated curriculum)
1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง
หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core
curriculum)
1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated
curriculum)
2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก
(learners
centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ
จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
มีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบดังนี้
2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized
curriculum)
2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized
curriculum)
2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child
– centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner
– centred curriculum)
3.
หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process
skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร
3 รูปแบบ ดังนี้
3.1
หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess
and life function curriculum)
3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience
curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity
and experience curriculum)
3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach
curriculum)
3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ
(the
competency – based curriculum)
ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของลักษณะ
และข้อดี ข้อด้อย ของหลักสูตรแต่ละ รูปแบบพอสังเขป ดังนี้
1.
หลักสูตรรายวิชาหรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา
(subject
matter curriculum) เป็นรูปแบบการจัดหลักสูตรที่เก่าแก่ที่สุดและยังใช้มาจนถึงปัจจุบัน
หลักสูตรประเภทนี้ได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาสารัตถนิยม (essentialism) และปรัชญาสัจวิทยานิยม (parennialism) เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
สาระ และความรู้ของวิทยาการต่าง ๆ เป็นหลักในการจัดการเรียนรู้
ใช้วิธีสอนแบบบรรยายโดยมีครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ดังเช่นหลักสูตรการศึกษาของไทย ปี
พ.ศ. 2493
ลักษณะของหลักสูตร
1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ใช้วิชาต่าง
ๆ เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียน
ซึ่งอาจจะสัมพันธ์กับสังคมหรือไม่ก็ได้ มักจะไม่คำนึงถึงผลที่เกิดแก่สังคม
2. โครงสร้างของเนื้อหาวิชา
จะแยกเป็นแต่ละวิชาไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง
ศีลธรรม การจัดการเรียนรู้ และการวัดผลแยกจากกันเป็นเอกเทศ
3. เนื้อหาวิชาจะประกอบด้วย ความรู้
ความคิดรวบยอด ทักษะ กฎ หลักเกณฑ์ คุณธรรม และการปฏิบัติงาน
โดยมีการจัดเนื้อหาให้เรียงลำดับอย่างมีระเบียบระบบ ตามลำดับเหตุการณ์
หรือตามลำดับความยากง่าย
4. การจัดการเรียนรู้
เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและความรู้ โดยครูผู้สอนเป็น ผู้ดำเนินการ
ดังนั้นความสามารถของครูจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ไม่ให้ความสำคัญกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียนมากนัก ผู้เรียนทุกคนเรียนทุกสิ่งทุกอย่างเหมือน
ๆ กัน และ ไม่ถือว่าจิตวิทยาในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ
5. การประเมินผลการเรียนรู้
มุ่งในเรื่องความรู้และทักษะในวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา เน้นเรื่องการสอน
ถ้าผู้เรียนสอบผ่านก็ถือว่าใช้ได้ ถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำ ต้องซ้ำจนกว่า
จะสอบผ่าน
6. การพัฒนาหลักสูตร
เน้นที่ผลการเรียนรู้ หลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อ
เนื้อหาวิชาเปลี่ยนแปลงไปไม่ได้เนื่องมาจากความต้องการหรือความเปลี่ยนแปลงในสังคม
ข้อดี
1. ง่ายต่อการเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้สอน
2. สอนง่ายและทุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้เนื่องจากเนื้อหาถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบ
ขั้นตอน ครูผู้สอนสามารถถ่ายทอดเนื้อหาสาระและความรู้ได้คราวละมาก ๆ
และวัดผลได้ง่าย
3. การจัดเนื้อหาที่เป็นระบบขั้นตอนทำให้ผู้เรียนมีความรู้เป็นหมวดหมู่
เพียงพอต่อการเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไป และทำให้ผู้เรียนมีระบบในการคิด
ทำให้สามารถพัฒนา เชาวน์ปัญญาได้รวดเร็วขึ้น
และความรู้ใหม่ที่ได้จะสัมพันธ์กับความรู้เก่าเกิดความต่อเนื่องใน การเรียนรู้
4. การประเมินผลการเรียนรู้ทำได้ง่าย เพราะมุ่งเน้นในเรื่องความรู้
5. เหมาะสำหรับการถ่ายทอดวัฒนธรรม
6. ช่วยสร้างระเบียบวินัยในชั้นเรียนได้ดี
ข้อด้อย
1.
ขัดกับหลักจิตวิทยาการเรียนรู้ ธรรมชาติและพัฒนาการของผู้เรียน
2.
ความมุ่งหมายของหลักสูตรแคบเกินไป เน้นแต่ด้านวิชาการไม่ครอบคลุม
พฤติกรรมและพัฒนาการด้านอื่นของผู้เรียน เช่น เจตคติ ทักษะ ด้านสังคม
3. เน้นครูเป็นศูนย์กลาง
ไม่ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน
ผู้เรียนขาดโอกาสในการพัฒนาความคิดไม่เป็นอิสระ
จึงไม่ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.
การจัดเนื้อหาสารที่แยกเป็นแต่ละวิชาไม่เกี่ยวข้องกัน
ทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นภาพรวมของสิ่งที่เรียนนอกจากนี้เนื้อหาที่เรียนยังไม่คำนึงถึงความต้องการของสังคมอย่างแท้จริงทำให้ผู้เรียนไม่สามารถนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.
ถ้าครูผู้สอนไม่มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอนอย่างเพียงพอ
และไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้อย่างดีพอ ผู้เรียนก็เกิดการเรียนรู้ได้ยาก
6.
บรรยากาศในห้องเรียนเคร่งเครียด ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
2. หลักสูตรกว้างหรือหลักสูตรหมวดวิชา
(broad
field curriculum)
เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีการผสมผสานความรู้ โดยรวมวิชาต่าง ๆ
ที่มีเนื้อหาสาระใกล้เคียงกันมารวมกันเป็นหมวดวิชาเดียวกัน เช่น
หมวดวิชาคณิตศาสตร์จะรวมวิชา เลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ เรขาคณิตไว้ด้วยกัน
การจัดการเรียนรู้ยึดครูเป็นศูนย์กลางเน้นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ
การวัดผลการเรียนรู้จึงมุ่งเน้นวัดความรู้ที่ได้เป็นหลัก
3.
หลักสูตรสัมพันธ์วิชาหรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์
(correlated
curriculum)
เป็นรูปแบบของหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดความสัมพันธ์กันของรายวิชาที่เกี่ยวข้องกัน
โดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ
ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกันมาเชื่อมโยงเข้าหากันแล้ววิชาสอนเนื้อหาเหล่านั้นในคราวเดียวกัน
แต่ถึงกระนั้นความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาก็ยังคงอยู่ เช่น
นำวิชาศิลปะไปสัมพันธ์กับวิชาประวัติศาสตร์ทำหลักเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์มาเชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์
เป็นต้น การจัดการเรียนการสอนยึดครูเป็นศูนย์กลาง
การวัดผลการเรียนรู้ยังเน้นพัฒนาการด้านเชาวน์ปัญญา
ลักษณะของหลักสูตร
เนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชา
หรือระหว่างวิชาโดยพยายามกำหนดเนื้อหาวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือหมวดวิชาใดหมวดวิชาหนึ่งตามเนื้อหาสาระและโครงสร้างของวิชา
นั้น ๆ แล้วนำเนื้อหาสาระวิชาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กันมารวมเข้าไว้ด้วยกัน
ข้อดี
1.
เนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์สอดคล้องและผสมผสานกันดียิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่เชื่อมโยงกัน
2.
ครูผู้สอนได้มีโอกาสวางแผนการสอนและดำเนินการสอนร่วมกัน ส่งผลให้เกิด
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่แน่นอน
3.
สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย ผู้เรียนมีโอกาสเข้าร่วม กิจกรรม
และมีประสบการณ์ตรงมากขึ้น
4.
ผู้เรียนมีโอกาสเรียนในสิ่งที่ตนสนใจ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5.
ขจัดความซ้ำซ้อนในเนื้อหาวิชาหรือหมวดวิชา
ข้อด้อย
1.
การจัดเนื้อหาให้สัมพันธ์กันทำได้ยาก
หากนำวิชาที่มีความสัมพันธ์กันน้อยเข้ามาสัมพันธ์กัน
อาจทำให้วิชานั้นมีเนื้อหามากเกินไป
2. หากครูผู้สอนเตรียมการสอนไม่ดีพอ
หรือขาดความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจะทำให้ ผู้เรียนเกิดความสับสน
3.
ทำให้คาบเวลาเรียนยาวนานเกินไป
4.
ครูผู้สอนอาจจะมีปัญหาในเรื่องเวลาที่จะต้องมาวางแผนร่วมกัน หรือเกิดการ ไม่ยอมรับ
เนื่องจากทำให้ยุ่งยากมากขึ้น
4. หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน
หรือหลักสูตรแบบแกน (core curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้จัดตามปรัชญาปฏิรูปนิยม (reconstructionism)เป็นการรวบรวมเนื้อหาความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนเข้าด้วยกันให้มีความสัมพันธ์และผสมผสาน
กัน ให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้และคำนึงถึงความต้องการของสังคมเป็นหลัก
การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการแก้ปัญหา เข้าใจชีวิตและสังคม
การวัดผลการเรียนรู้เน้นวัดพัฒนาการทุก ๆ
ด้านของผู้เรียนในวงการศึกษาไทยรู้จักหลักสูตรแกนกลางในนามของ "การเรียนการสอนแบบหน่วย"
ตัวอย่างของหลักสูตรแบบนี้คือ หลักสูตรประถมศึกษาและหลักสูตรมัธยมศึกษา พุทธศักราช
2521 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533
5. หลักสูตรแบบบูรณาการ
(intergrated
curriculum)
เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากหลักสูตรกว้างโดยนำเอาเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ มาหลอมรวมกัน
ทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละวิชาหมดไป โดยรวมเอาประสบการณ์การเรียนรู้จากหลาย
ๆวิชา มาจัดเป็นหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน
จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต
และพัฒนาผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน การจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การวัดผลการเรียนรู้จะวัดพัฒนาการทุก ๆ ด้าน
ตัวอย่างของหลักสูตรประเภทนี้คือ
หลักสูตรประถมศึกษา ปี พ.ศ. 252
ลักษณะของหลักสูตร
หลักสูตรประเภทนี้รวมประสบการณ์จากทุกรายวิชามาสัมพันธ์กันจนไม่ปรากฏ
เด่นชัดว่าเป็นวิชาใดจัดเป็นประสบการณ์ต่อเนื่อง
หลักสูตรเช่นนี้อาจอาศัยประเด็นหรือปัญหาบางอย่างเป็นแกน
แล้วหลอมทุกสาระวิชาที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน
ข้อดี
1.
มีความสัมพันธ์ระหว่างวิชาสูงสุด
ทำให้เกิดการผสมผสานทางด้านการเรียนรู้และเนื้อหาวิชา
2. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
จึงสามารถนำสิ่งที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้มาก
3. เนื้อหาผสมผสานกัน
สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลายรูปแบบ ทำให้สอดคล้องกับความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนและสังคม
4.
มีการคัดเลือกเนื้อหาอย่างรอบคอบ และการเรียบเรียงประสบการณ์อย่างดี
ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน
5.
ส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาทั้งผู้เรียนและครูผู้สอน
รวมทั้งส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย
6.
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนา
คุณลักษณะต่าง ๆ ในตนเองและส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ข้อด้อย
1.
การบูรณาการเนื้อหาและประสบการณ์ทำได้ดีในระดับชั้นประถมศึกษา
แต่ในระดับมัธยมศึกษาและสูงกว่าทำได้ยาก
2.
เป็นหลักสูตรที่ยากแก่การสอน ดังนั้นครูผู้สอนต้องมีความรู้ ความสามารถที่ดีพอ
ต้องมีการเตรียมการสอนอย่างดีและตระหนักถึงความสำคัญของหลักการบูรณาการ
3.
ต้องใช้สื่อการเรียนรู้หลายอย่าง
4.
ความกว้างขวางของหลักสูตร อาจทำให้ผู้เรียนไม่มีความรู้ลึกซึ้งในเนื้อหาที่เรียน
นอกจากนั้นหากครูผู้สอนไม่เก่งพออาจทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่าง
ๆ
5.
ครูผู้สอนมักอาจสอนไม่ครอบคลุมเนื้อหาครบถ้วนหรือมักสอนแยกวิชาตามความเคยชิน
ทำให้ขาดความเป็นบูรณาการ
6. หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized
curriculum)
เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
การจัดหลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ และอัตราเร็วของแต่ละคน
มีโอกาสเลือกได้มาก ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความรับผิดชอบ
โดยยึดหลักปรัชญา สวภาพนิยม (existentialism) ให้ความสำคัญกับผู้เรียน
รายบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเป็นอิสระจากคนอื่น
ครูผู้สอนจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียนแต่เพียงลำพังหรือร่วมกันจัดกับผู้เรียนก็ได้
7. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล(personalized
curriculum)
เป็นหลักสูตรที่ครูและนักเรียนวางแผนร่วมกันตามความเหมาะสมและความสนใจของผู้เรียน
เรียกว่า สัญญาการเรียนเพื่อส่งเสริมและดึงเอาศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ทำให้เกิดความยุติธรรมทางการศึกษามากขึ้น ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียน
มีทางเลือกกิจกรรมการเรียนหลายด้าน เป็นการศึกษาที่ประกันได้ว่าผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้จริง สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ ความสนใจของตนเองและชุมชน
เป็นการจัดหลักสูตรโดยยึดหลักปรัชญาสวภาพนิยาม (existentialism)
8. หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน(child
– centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learnercentred
curriculum)
หลักสูตรประเภทนี้คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลักการ
ที่สำคัญ เน้นบทบาทของผู้เรียนในการเรียน
ดังนั้นในหนึ่งวิชาอาจจะมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน
ออกไปทั้งในด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียน สื่อการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล เช่น
ในวิชาภาษาไทย นักเรียนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งต้องการเรียนการแต่งคำประพันธ์ในขณะที่นักเรียนอีกคนหนึ่งหรืออีกกลุ่มหนึ่งต้องการเรียนการเขียนเรียงความ
ฉะนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ก็ต้องจัดให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนทุกคนทุกกลุ่ม
ดังนั้นหลักสูตรจึงต้องมีการกำหนดให้เลือกได้และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
การจัดหลักสูตรประเภทนี้ทำได้ยากมาก เพราะต้องจัดเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้และการวัดผลไว้หลากหลาย รวมทั้งต้องใช้ครูผู้สอนหลายรูปแบบ
9. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (social process and
life function curiiculum)
การจัดหลักสูตรแบบนี้ยึดชีวิตจริงของผู้เรียนและสังคมเป็นหลัก
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของสังคม
จึงเป็นหลักสูตรที่ถูกคาดว่ามีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้เรียน
หลักสูตรนี้ได้รับแนวความคิดมาจากนักการศึกษา จอห์น ดิวอี้ (John
Dewey) โดยยึดปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (progressivism) และปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม (reconstructionism) เป็นแนวทางในการจัดหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา
การประเมินผลการเรียนรู้จะประเมินผลในทุกด้านลักษณะของหลักสูตร
1.
จัดเนื้อหาวิชาให้สัมพันธ์กับชีวิตจริง หรือประสบการณ์จริงให้มากที่สุด เช่น
การประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตในครอบครัว การป้องกันชีวิตและสุขภาพ เป็นต้น
2.
เตรียมผู้เรียนให้ร่วมมือกับสังคม เพื่อให้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้าที่ทางสังคม
กระบวนการทางสังคม หรือปัญหาทางสังคม
3.
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้อาจจัดเป็นหน่วยหรือรายวิชา เรียนในสิ่งที่ใกล้ตัวก่อน
หรือจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
ข้อดี
1. ช่วยพัฒนาความคิด
และช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายและความสำคัญของ สิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้น
ทำให้เกิดแรงจูงใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
2. ช่วยเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ active
learning คือการเรียนอย่างกระตือรือร้น
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศในการเรียนมีชีวิตชีวา
4.
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาความซับซ้อนและความเป็นจริงของสังคม
5. มีความยืดหยุ่น
สามารถปรับให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม
6.
เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สนับสนุนให้เกิดโรงเรียนชุมชนขึ้น
ข้อด้อย
1.
ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสังคมได้เพียงบางส่วนเท่านั้นเนื่องจากกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของคนในสังคมมีหลากหลายไม่สามารถนำมาสอนได้ทั้งหมด
2.
เนื้อหาสาระอาจจะขาดความสมบูรณ์ไป
เนื่องจากการจัดการเรียนรู้มุ่งเพื่อความสนใจในการปฏิบัติของผู้เรียนมากเกินไป
3. มีปัญหาในเรื่องการผสมผสานและการจัดหมวดหมู่ของประสบการณ์การเรียนรู้
เพราะผู้จัดไม่ทราบแน่ว่ากิจกรรมหรือประสบการณ์ชีวิตอะไรที่มีค่า มีความสำคัญ
และจำเป็นที่สุดต่อผู้เรียนที่จะนำมาสอนอีกทั้งยังไม่มีวิธีการจัดหมวดหมู่ความรู้ที่สมบูรณ์อย่างแท้จริงได้
4. ครูผู้สอนอาจไม่มีความชำนาญในการจัดการเรียนรู้ลักษณะนี้
ดังนั้นในทางปฏิบัติ ครูส่วนใหญ่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ ในการบรรยาย เป็นต้น
5.
จัดกิจกรรมการเรียนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ทำได้ยาก
6.
การจัดตารางสอนแบบตายตัวทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับครูผู้สอนได้
10. หลักสูตรประสบการณ์(experience
curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity
and experience curriculum)
เป็นรูปแบบของหลักสูตรที่เน้นประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นหลัก
เป็นหลักสูตรที่มุ่งแก้ไขการเรียนรู้ที่ยึดครูผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
โดยไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เช่น
หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชาเป็นหลัก หลักสูตรนี้ที่ยึดหลักการที่ว่า
การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์และประสบการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
ดังนั้นการจัดหลักสูตรจึงเน้นเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
ผู้เรียนต้องรู้จักวิธีการแก้ปัญหาลงมือกระทำ วางแผนด้วยตนเอง
เป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (learning by doing)การจัดการเรียนรู้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เน้นการแก้ปัญหา ครูต้องเป็นนักวางแผน
นักจิตวิทยา นักแนะแนวและนักพัฒนาการ การประเมินผลการเรียนรู้
จะประเมินพัฒนาการของผู้เรียนในทุก ๆ ด้าน ยึดปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการ progressivism)
ลักษณะของหลักสูตร
1. ความสนใจของผู้เรียนเป็นตัวกำหนดเนื้อหา กิจกรรม
หรือประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน
2. วิชาที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนคือวิชาที่ผู้เรียนมีความสนใจร่วมกัน
ดังนั้นจึงกำหนดเนื้อหาจากความสนใจของผู้เรียนเป็นคราว ๆ
ไปมิได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า
3. โปรแกรมการสอนไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า นั่นคือครูผู้สอนไม่สามารถกำหนด
กิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า
ดังนั้นก่อนทำการสอนต้องสำรวจความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนและทั้งชั้น
และช่วยผู้เรียนตัดสินใจเลือกเรื่องที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษา
4. ใช้วิธีแก้ปัญหาเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้
ข้อดี
1. ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง
ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มาก สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ได้รู้จักการวางแผนการเรียนด้วยตนเอง
ได้มีโอกาสทดลอง แก้ไข
ปัญหาได้อย่างมีเหตุมีผล
มีความรับผิดชอบในตนเองต่อการศึกษา
3.
ผู้สอนและผู้เรียนมีโอกาสได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด
และมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากขึ้น
4.
สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5.
ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรม ทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
6.
มีความยืดหยุ่นในเรื่องของเวลา และวิธีจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย กิจกรรม
การเรียนรู้ครอบคลุมเนื้อหาได้กว้างขวาง กระบวนการเรียนรู้เป็นไปตามขั้นตอน
ข้อด้อย
1. การจัดทำหลักสูตรทำได้ยาก
2.
ถ้าครูผู้สอนไม่มีความกระตือรือร้น ไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสอน
ขาดความเข้าใจในจิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียนแล้ว การจัดการเรียนรู้ก็ไม่ประสบ
ความสำเร็จ
3.
การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง
หรือชีวิตจริงของเด็กแต่ละคนกระทำได้ยาก
4.
เนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้รับ อาจจะไม่สัมพันธ์กับพัฒนาการของผู้เรียน หรือ
ได้เนื้อหาสาระไม่ครบถ้วนและขาดความต่อเนื่องของความรู้
ไม่ได้รับความรู้เป็นกอบเป็นกำ หลักสูตรนี้ใช้ได้ดีกับผู้เรียนระดับประถมศึกษา
เพราะสามารถจัดกิจกรรมหรือประกอบการเรียนรู้ได้ง่ายกว่าเด็กโต
5.
ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ เช่น ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆมิฉะนั้นการจัดการเรียนรู้จะไม่บังเกิดผล
11. หลักสูตรกระบวนการ(the
process approach curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้เน้นวิธีการมากกว่ารูปแบบ กล่าวคือหลักสูตรอาจเป็นแบบ
รายวิชาหรือแบบยึดปัญหาสังคมก็ได้ แต่วิธีการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการ ดังนั้นการจัดหลักสูตรจะมุ่งการพัฒนาทักษะของกระบวนการเรียนรู้ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีระบบ
เช่น หลักสูตรทักษะทางคณิตศาสตร์ หลักสูตรทักษะทางวิทยาศาสตร์ จึงใช้การสังเกต
ทดลอง จำแนก พยากรณ์ ฯลฯ ให้ผู้เรียนคิด ค้นคว้าหาความรู้ และฝึกปฏิบัติจนรู้แจ้งฉะนั้นสิ่งสำคัญที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ไม่ใช่เนื้อหาวิชา
แต่เป็นวิธีการต่าง ๆ เนื้อหาวิชาเป็นเพียงเครื่องมือ
ที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในวิธีการเหล่านั้น ตัวอย่างหลักสูตรนี้ได้แก่
หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ที่ กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดขึ้น
12. หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ(the
competency – based curriculum)
หลักสูตรรูปแบบนี้จัดทำขึ้นเพื่อความแน่ใจว่าผู้ที่จบการศึกษาระดับหนึ่ง
ๆนั้น จะมีทักษะและความสามารถในด้านต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มุ่งเรื่องความรู้หรือเนื้อหา ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลเวลาแต่จะมุ่งในด้านทักษะ
ความสามารถเจตคติและค่านิยม อันจะมีประโยชน์ต่อชีวิตปัจจุบันและอนาคตของผู้เรียน
ในอนาคตถึงแม้ว่าความรู้ จะเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป
แต่ผู้เรียนซึ่งเติบโตออกไปในสังคมก็ยังคงสามารถปรับตัวทันความต้องการของสังคมได้
ตัวอย่างของหลักสูตรประเภทนี้คือ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
ซึ่งส่วนหนึ่งของหลักสูตรดังกล่าวมีลักษณะแบบนี้ลักษณะของหลักสูตรหลักสูตรนี้มีโครงสร้างซึ่งแสดงให้เห็นถึงเกณฑ์ความสามารถในด้านต่าง
ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีในแต่ละระดับการศึกษาและในแต่ละชั้นเรียน ทักษะและความสามารถใน
แต่ละชั้นเรียนจะถูกกำหนดให้มีความต่อเนื่องกัน
โดยใช้ทักษะและความสามารถที่ได้รับการฝึกฝนอบรมเบื้องต้นเป็นฐานสำหรับการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถในอันดับต่อไป
ข้อดี
1.
ง่ายต่อการจัดการเรียนรู้และการวัดผล
2.
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคในการศึกษา อันเนื่องมาจากความ
แตกต่างทางภูมิศาสตร์ของที่ตั้งของโรงเรียน
โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ในชนบทและในท้องถิ่น ห่างไกลย่อมเสียเปรียบโรงเรียนในเมือง
การจัดครูผู้สอนที่มีคุณภาพตลอดจนสื่อการเรียน
การสอนไม่ใช่ว่าจะประกันในเรื่องความเสมอภาคได้เสมอไป แต่สิ่งที่พอจะประกันได้ก็คือ
การสร้างทักษะและความสามารถพื้นฐานอย่างต่ำตามเกณฑ์ที่เราคิดว่าผู้เรียนควรมีผลสัมฤทธิ์
หลังจากที่ได้ผ่านการเรียนการสอนแต่ละชั้นหรือแต่ละระดับการศึกษาไปแล้ว
ข้อด้อย
การจัดทำหลักสูตรค่อนข้างยาก
ต้องอาศัยความชำนาญจากนักพัฒนาหลักสูตรรวมทั้งความร่วมมือของบุคคลที่เกี่ยวข้องอีกหลายฝ่าย
เนื่องจากการกำหนดทักษะและ
ความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนให้ได้มาตรฐานครบถ้วนมีความยุ่งยากและมีหลายขั้นตอนพื้นฐานในการจัดทำหลักสูตรในการจัดทำหลักสูตรหรือที่เรียกว่าการพัฒนาหลักสูตรนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษา สำรวจ วิเคราะห์วิจัย ถึงข้อมูลพื้นฐานในด้านต่าง ๆ
อย่างเพียงพอเพื่อใช้ในการสนับสนุน อ้างอิง และตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ
ให้ได้หลักสูตรที่สมบูรณ์ดีพร้อม ดังที่ธำรง ได้กล่าวถึง ข้อมูลพื้นฐานเหล่านี้ว่าสามารถช่วยนักพัฒนาหลักสูตร
จากการศึกษาทำให้เกิดความรู้
พอสรุปได้ดังนี้
การออกแบบหลักสูตรเป็นการสร้างความมั่นใจว่าหลักสูตรที่สร้างขึ้นสามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
เป็นการสร้างพิมพ์เขียว เพื่อให้ผู้ใช้หลักสูตรได้เห็นประสบการณ์ที่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องได้รับ
เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จหรือจุดหมายของการจัดการศึกษานั้นได้
การออกแบบหลักสูตรที่ดีช่วยเพิ่มโอกาสของความสำเร็จในการจัดการศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)