แนวคิดการประเมินหลักสูตร
การประเมินหลักสูตรเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1444 เมื่อมีการทำสัญญาระหว่างผู้ปกครองเมืองTreviso กับครูใหญ่ของโรงเรียน
เพื่อประเมินค่าจ้างของครูใหญ่ตามระดับการได้รับความรู้ของนักเรียน
โดยวัดจากแบบวัดที่สร้างขึ้น ในศตวรรษที่ 18 มีการใช้ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของหลักสูตรเป็นตัวกำหนดการให้ผลตอบแทน
(รางวัลหรือโทษ) จะรู้จักกันดรในรูปแบบของ “Payment By Results”
(PBR) โดยมีข้อตกลงว่า
นักเรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้ได้ถ้าได้รับการสอนอย่างเหมาะสม
การประเมินหลักสูตรในช่วงนี้ใช้แบบทดสอบวัดผลลัพธ์ของหลักสูตร คือ
ผลการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นการทดสอบที่เรียกว่า “High Stake Test” ซึ่งมีอิทธิผลต่อพฤติกรรมของครูและนักเรียน
ช่วงหลังศตวรรษที่ 19 ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้นำแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการวัดผลการเรียนรู้
โดยมองว่าผลลัพธ์ที่สำคัญของการศึกษา คือ
การเปลี่ยนแปลงของนักเรียนที่ต้องสามารถวัดเป็นปริมาณได้
และจากปริมาณที่วัดได้จะบอกให้ทราบถึงความรู้ที่แต่ละคนได้รับจากหลักสูตร
ซึ่งแนวคิดนี้ได้มองข้ามสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียน
เช่น กระบวรการถ่ายทอดความรู้ และระบบต่างๆ ภายในโรงเรียน
สนใจเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเด็กเท่านั้น ในช่วงนี้เองแนวคิดพฤติกรรมนิยม
ปฏิบัติการนิยม และการทดสอบได้กลายเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของหลักสูตร
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการขยายตัวทางการศึกษา
การประเมินที่เป็นที่นิยมแพร่หลาย คือ การประเมินตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ของ
ราล์ฟ ไทเลอร์ (Ralph Tyler) เป็นผู้ที่ริเริ่มให้คำนิยามของการศึกษาว่า
“การศึกษาคือการเปลี่ยนพฤติกรรม” ดังนั้นการประเมินผลหลักสูตรจึงมุ่งไปที่การเปลี่ยนแปลงเป็นจุดสำคัญ
ตัวอย่างการประเมินหลักสูตรที่จัดได้ว่าเป็นงานชิ้นสำคัญ คือ การประเมิน“Eight
Year Study” ของไทเลอร์
ที่มีการกำหนดจุดประสงค์ของการพัฒนาประสบการณ์เรียนรู้
เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตามแบบของบลูม (Bloom) และนำไปใช้ในการประเมินว่าหลักสูตรให้ความสำคัญกับจุดประสงค์นั้นเพียงใด
ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับว่ามีเหตุผลและวัดได้
โดยสรุปแนวคิดการประเมินหลักสูตร คือ
โดยสรุปแนวคิดการประเมินหลักสูตร คือ
1.
การประเมินตามจุดประสงค์
(Goal
– based) เป็นการตัดสินใจตามจุดประสงค์ของการศึกษา หรือโปรแกรมการฝึกอบรม
2.
การประเมินที่ไม่ยึดจุดประสงค์
(Goal
– free) การตัดสินใจที่มีความเป็นอิสระจากผลที่เกิดจากโอกาสทางการศึกษาหรือโปรแกรม
3.
การประเมินตามหน้าที่
(Responsive) เป็นการเปรียบเทียบความมุ่งมั่นในการสอนและผลที่เกิดขึ้นจริงที่สังเกตได้
4.
การประเมินที่มุ่งการตัดสินใจ
(The
decision – making) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาหรือโปรแกรมการฝึกอบรม
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจยุติหรือดำเนินการต่อไป
5.
การประเมินเพื่อการรับรอง
(The
accreditation) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการรับรองเกี่ยวกับกระบวนการของการพัฒนาวิชาชีพในการจัดการศึกษาหรือโปรแกรมการฝึกอบรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น