วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น


การจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
ความหมายของภูมิปัญญาไทย
            จากการศึกษาความหมายที่ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต่างๆ ซึ่งครอบคลุมคำว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย ได้ให้ความหมายพอสรุปได้ ดังนี้
            ภูมิปัญญาพื้นบ้านหรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Popular Wisdom) หมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา อันเป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อการดำรงอยู่รอดของเผ่าพันธุ์จึงตกทอดเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของธรรมชาติ เผ่าพันธุ์ หรือเป็นวิธีของชาวบ้าน (ยิ่งยง เทาประเสริฐ)
            ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง กระบวนทัศน์ของบุคคลที่มีต่อตนเอง ต่อโลกและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว จะมีรากฐานคำสอนทางศาสนา คติ จารีต ประเพณี ที่ได้รับการถ่ายทอดสั่งสอนและปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ปรับปรุงเข้ากับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละสมัย ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายเพื่อความสงบสุขในส่วนที่เป็นชุมชน และปัจเจกบุคคล ซึ่งกระบวนทัศน์ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
            1.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม
            2.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสังคมหรือการจัดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
            3.ภูมิปัญญาเกี่ยวกับระบบการผลิตหรือประกอบอาชีพที่มีลักษณะมุ่งเน้นระบบการผลิตเพื่อตนเอง
            ภูมิปัญญาไทย หมายถึง องค์ความรู้ในด้านต่างๆ ของการดำรงชีวิตของคนไทยที่เกิดจาก การสะสมประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบกับแนวความคิดวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาต่างๆ ของตนเอง จนเกิดหลอมตัวเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหาที่เป็นลักษณะของตนเอง ที่สามารถพัฒนาความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ในการแก้ปัญหาของการดำรงชีวิต ( เสรี พงศ์พิศ)
แนวคิดในการจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้
            แนวคิดของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ได้ปฏิบัติงานด้วยเอกลักษณ์ของตัวเอง แนวคิดที่สำคัญ มีดังนี้
            1. การจัดการเรียนรู้เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ในกระบวนการเรียนรู้
            2. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการฝึกทักษะการใช้กระบวนการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล และการปฏิบัติจริง ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น
            3. ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ได้คิด แสดงออกอย่างอิสระ บรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นกัลยาณมิตร
            4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งระบบ
            5. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้สอนให้มาเป็นผู้รับฟัง ผู้เสนอแนะผู้ร่วมเรียนรู้ เป็นที่ปรึกษา ผู้สร้างโอกาส สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้เป็นนักออกแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีบทบาทมากที่สุด
            6. ต้องการให้เรียนรู้ในสิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวจากง่ายสู่ยาก จากรูปธรรมสู่นามธรรม โดยใช้แหล่งการเรียนรู้เป็นสื่อ ประสบการณ์ชีวิต ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาเป็นฐานการเรียนและประยุกต์ใช้กับการป้องกันและแก้ปัญหา
            7. ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสจัดกิจกรรมได้เรียนรู้ตามความต้องการ ความสนใจ ใฝ่เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยตนเอง
            8. ถือว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานที่
            9. ปลูกฝังสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ในทุกสาระการเรียนรู้
ลักษณะของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
            1. ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ค้นหาความรู้ด้วยตัวเอง
            2. ผู้เรียนฝึกทำงานเป็นกลุ่มร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ปัญหาต่างๆซึ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และเพิ่มพูนทักษะสั่งสมประสบการณ์
            3. ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความและสรุปความ คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
            4. ผู้เรียนประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง
            5. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้

            6. ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน
การบริหารและจัดการแหล่งการเรียนรู้
            1. กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้ไว้ในแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการสถานศึกษา
            2. ปรับปรุงระบบบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
            3. ประสานความร่วมมือกับชุมชนร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาและ สร้างบรรยากาศให้สถานศึกษาเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
            4. กำหนดให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งการเรียนรู้มาบูรณาการทั้งเนื้อหาสาระและจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            5. กำหนดมาตรการให้ครูผู้สอนใช้สื่อที่หลากหลาย และใช้แหล่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาและท้องถิ่นสร้างประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนได้ฝึกทักษะและลงมือปฏิบัติจริง
            6. ประเมินผลการใช้แหล่งการเรียนรู้รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ปัญหา อุปสรรค อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการใช้แหล่งการเรียนรู้
            7. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การพัฒนาและใช้แหล่งการเรียนรู้
            8. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้
แนวทางการบริหารแหล่งการเรียนรู้
            การบริหารสถานศึกษาปัจจุบันเน้นการบริหารคุณภาพ ตามวงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle : PDCA)ซึ่งสถานศึกษาสามารถนำมาใช้ในการบริหารแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษามีคุณภาพ การบริหารคุณภาพจะทำให้ การบริหารงานพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีการทำงานที่เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ ช่วยส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้บรรลุเป้าหมายตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระบบบริหารจัดการที่ดีตามระบบวงจรคุณภาพด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและชุมชน ประกอบด้วย  การวางแผน (Plan)  การดำเนินงานตามแผน (Do)  การตรวจสอบ (Check)  การพัฒนาปรับปรุง (Action)  (กระทรวงศึกษาธิการ 2544 : 14)
การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่สากล
            การใช้แหล่งเรียนรู้เป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่น สู่สากลและการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ให้ผู้เรียน ได้ลงมือปฏิบัติ ระหว่างหรือหลังการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้นั้นๆ และสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในแหล่งเรียนรู้นั้น ผู้จัดกิจกรรมหรือผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ จำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ ซึ่งต้องรู้ว่าแหล่งเรียนรู้ นั้นถูกจัด อยู่ในประเภทใด มีองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง และมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งอย่างไร ตลอดจนจุดเน้น หรือกิจกรรมของแหล่งเรียนรู้ ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง และ มีเนื้อหาสาระอะไรที่ต้องการเน้น ให้ผู้เข้าใช้บริการทราบหรือเรียนรู้ ซึ่งผู้ออกแบบกิจกรรมต้องนำองค์ความรู้ต่างๆ ที่อยู่ในแหล่งเรียนรู้ อาจมีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร ซึ่งก็จะเป็นประโยชน์และมีความหมาย ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากขึ้น ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรม ที่ช่วยเติมเต็มความรู้ หรือการขยายความรู้ความเข้าใจให้ผู้เรียน หรือเสริมทักษะทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ในตัวผู้เรียนต่อไป ฉะนั้นการนำภูมิปัญญาและแหล่งการเรียนรู้มาใช้ในการจัดแหล่งการเรียนรู้ จะเป็นการผสมผสานระหว่างความรู้ท้องถิ่น กับความรู้สากล
การใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่น
            แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกำหนดความหมายของท้องถิ่นและความรู้ท้องถิ่นเพื่อเป็นขอบเขตในการเชื่อมโยงความรู้ ได้ดังนี้คือ
            ท้องถิ่น หมายถึง บริเวณสถานที่รวมทั้งสภาพแวดล้อมและสังคมวัฒนธรรมที่ผู้เรียนส่วนมากมีวิถีชีวิตเกี่ยวข้อง คุ้นเคยมาตั้งแต่กำเนิด มีขอบข่ายครอบคลุม ทั้งหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และภูมิภาคของท้องถิ่นนั้น
            ความรู้ท้องถิ่น หมายถึง รายละเอียดของข้อมูลสารสนเทศรวมทั้งเนื้อหา องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับท้องถิ่นในด้านต่างๆ เช่น สภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ตลอดจนสภาพปัญหา สิ่งที่ควรได้รับการถ่ายทอดสู่คนในชุมชนและสังคมรุ่นหลัง
            เมื่อกำหนดความหมายแล้ว ครูผู้สอนต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ท้องถิ่น ได้พร้อมกับผู้เรียนโดยมีผู้เรียนที่อยู่ในท้องถิ่นร่วมกันจากประเด็นที่สนใจ กำหนดแนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้เชื่อมโยงสู่สากลของสถานศึกษา อาจจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น ใช้แหล่งเรียนรู้เป็นที่ฝึกปฏิบัติงานของผู้เรียน เชิญภูมิปัญญา มาถ่ายทอดความรู้ การจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนไปศึกษาสำรวจ หรือนำความรู้ท้องถิ่นมาบูรณาการกับสาระการเรียนรู้ในหลักสูตร หรือจัดหรือฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งล้วนสามารถเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้สากลได้อย่างดี
แหล่งการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้
            หลักสูตรกล่าวถึงความจำเป็นที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องส่งเสริมให้พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษาและในท้องถิ่น ให้ครอบคลุมหลักสูตรและกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาไปสู่ความเป็นสากล ตลอดจนให้มีการกำกับ ติดตามเร่งรัดและประเมินผล การดำเนินงานเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ เป็นระยะ จึงได้กำหนดให้มีการกล่าวถึงแหล่งการเรียนรู้ ไว้ในสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:3) ดังนี้
            

1. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ได้แก่
                        1.ห้องสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้และเป็นหัวใจสำคัญของสถานศึกษา ที่ผู้เรียนจะใช้ในการศึกษาค้นคว้า ใช้อ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ การจัดห้องวิชาการเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา จะทำให้ผู้เรียนได้ประโยชน์ จากการเรียน และการใช้อินเตอร์เน็ตในการค้นคว้าหาความรู้มีความสำคัญมากขึ้นในการรับความรู้จากหลายแหล่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                        1.ทรัพยากรบุคคล เช่น ผู้ปกครอง คนในท้องถิ่นที่มีความรู้ ภูมิปัญญาด้านภาษาถิ่น เพลงพื้นบ้าน พิธีกรรมต่างๆ ครูภาษาไทยควรจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมา ซึ่งสามารถเชิญมาให้ความรู้ในสถานศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:23)
            2. กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กล่าวว่า การเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโลก ยุคไร้พรมแดน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ตลอดเวลาและตลอดชีวิต ทั้งนี้เพราะแหล่งการเรียนรู้ได้เปิดกว้าง ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ทั้งในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย ได้แก่ ห้องเรียน ห้องสมุด สถานศึกษา ศูนย์การเรียน พิพิธภัณฑ์ สมาคม ชุมชน ชมรม ชุมนุม มุมคณิตศาสตร์ สวนคณิตศาสตร์ ห้องกิจกรรมคณิตศาสตร์ หรือห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ รวมถึงบุคคลที่มีความรู้ ทางคณิตศาสตร์ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:29)
            3. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ต้องเสริมสร้างและสนับสนุนให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย มิได้จำกัดเฉพาะห้องเรียน ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษา หรือจากหนังสือเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งในและนอกสถานศึกษา และท้องถิ่น (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:45-46) ได้แก่
                        3.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ หนังสือพิมพ์ วารสาร
                        3.สื่ออิเลกทรอนิกส์ ได้แก่ มัลติมีเดีย สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หนังสืออิเลกทรอนิกส์ (e-book)
                        3.แหล่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
                        3.แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น เช่น สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ โรงงานอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัยท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู อาจารย์ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
            ทั้งนี้ในการสอนวิทยาศาสตร์ ครูผู้สอนควรจัดให้แหล่งการเรียนรู้สอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนที่จะได้รับการพัฒนา ทั้งด้านความรู้และความคิด ทักษะ กระบวนการ เจตคติ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยม จากแหล่งการเรียนรู้เหล่านั้น
            4. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาวัฒนธรรม  กล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ต้องมีชีวิตชีวา มีสีสันของการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน เครื่องมืออุปกรณ์การเรียน ไปจนถึงอุปกรณ์การสื่อสาร เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ บุคคล ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:50-51)
            5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา  กล่าวว่า ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกเวลาทุกสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ทุกประเภท รวมถึงจากเครือข่ายการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม ท้องถิ่น และอื่นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:20-27)
          6. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  กล่าวว่า สามารถแสวงหาความรู้ได้ตลอดเวลา ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย ในปัจจุบัน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามมาตรฐานของกลุ่มศิลปะได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:18)
            7. กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  กล่าวว่า วิธีการที่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ หรือเรียนรู้จากแหล่งความรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งวิทยาการ สถาบัน องค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน สถานประกอบการ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลกทรอนิกส์ เป็นต้น (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:32)
          8. กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ  กล่าวว่า แหล่งการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นครูผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จากแหล่งการเรียนรู้ในการศึกษาค้นคว้า ฝึกทักษะทางภาษาเพิ่มเติมจากการเรียนในชั้นเรียนได้ด้วยตนเอง แหล่งการเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะทางภาษา เช่น ครูผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ห้องสมุดสถานศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง (All For Education) รายการวิทยุ โทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษ สถานที่ทำการของหน่วยงาน สถานที่ท่องเที่ยว สถานทูต การเดินทางไปต่างประเทศ (กระทรวงศึกษาธิการ 2545:26-27)
ความสำคัญและความจำเป็นของแหล่งเรียนรู้
            ดิเรก พรสีมา (2543) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า เป็นแหล่งความรู้ที่นักเรียนสามารถไปค้นคว้าหาความรู้ได้ทั้งในเวลาก่อนและหลังเลิกเรียนและในวันหยุดราชการและยังเน้นแหล่งเรียนรู้ที่นักเรียนจากหลายชุมชนมาใช้ร่วมกันได้
            สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543) ได้กล่าวถึงความสำคัญในลักษณะของการใช้แหล่งเรียนรู้สนับสนุนการจัดการเรียนว่า ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้แบบองค์รวม ได้ฝึกคิดและฝึกปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่นและได้เรียนรู้ตามความถนัดของตนเอง
            สำนักงานปฏิรูปการศึกษา (2545) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่า การที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งต่างๆ จากผู้คนที่หลากหลาย จะทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถเชื/อมโยงการเรียนการสอนเข้ากับวิถีชีวิตมีความผูกพันกับท้องถิ่น เห็นคุณค่าและอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมและยังสามารถบูรณาการภูมิปัญญาไทยและสากลเพื่อนำปรับใช้กับวิถีไทยได้
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2547) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ว่าเป็นแหล่งวิทยาการสำหรับนักเรียนได้ฝึกสืบค้นข้อมูล ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกคิด ฝึกพัฒนาการ ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความงาม ความสุนทรีย์ และก่อให้เกิดความสามารถทางการเรียนรู้แบบองค์รวมทั้งด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะนิสัย ซึมซับสิ่งที่ดีงามจาก ภูมิปัญญา หล่อหลอมจิตใจเกิดความรัก ความศรัทธาและหวงแหนทรัพยากรของประเทศชาติจากความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้สรุปความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ได้ว่า เป็นแหล่งให้ความรู้ทีแต่ละบุคคลต้องการแสวงหา สามารถหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต้นกำเนิดเฉพาะด้านและสามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่ความรู้อื่นได้อย่างหลากหลาย เป็นการส่งเสริมให้เกิดเรียนรู้ทั้งในระบบ และนอกระบบตลอดชีวิต
หลักการและวัตถุประสงค์ของแหล่งเรียนรู้
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) กล่าวว่า หลักการของแหล่งเรียนรู้มี 5 ประการ ดังนี้
            1. สนองกลุ่มเป้าหมายทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความสนใจใฝ่รู้ ความพอใจของผู้เรียน
            2. สอดคล้องกับวิถีชีวิต และเรียนรู้ได้ตลอดเวลาทั้งนี้เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม
            3. บรรยากาศเอื้ออำนวยให้บุคคลได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความต้องการของตนเอง
            4. ส่งเสริมด้านการอ่าน การเขียน การพูด การฟัง การคิดวิเคราะห์ และการนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์
            5. ไม่ยึดติดรูปแบบใด ๆ
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดแหล่งเรียนรู้คือ เพื่อพัฒนาทักษะความสามารถด้านต่างๆ ของประชาชน และผู้สนใจทุกระดับได้เรียนรู้อย่างอิสระ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามความสนใจอย่างเต็มศักยภาพและเต็มความสามารถ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย ดังนี้
            1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
            2. เพื่อหาแนวทางการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
            3. เพื่อจัดหาโอกาสสร้างประสบการณ์การเรียนรู้จากสื่อ
            4. เพื่อจัดหาโอกาสทางการศึกษาอย่างอิสระ และศึกษาด้วยตนเอง
            5. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพิจารณาตัดสินสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
            6. เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ และทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์
            7. เพื่อพัฒนาความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระ ความรับผิดชอบการตัดสินใจ การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
            8. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการค้นคว้า การอภิปราย การสนทนา การนำเอาความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้
            9. เพื่อเป็นแรงดลใจให้เกิดการเปลี/ยนแปลง และพัฒนาการศึกษาตลอดชีวิต
ประเภทของแหล่งเรียนรู้
            จากความหมายของคำว่า แหล่งเรียนรู้ที่มีความหมายครอบคลุมกว้างขวางมากมีตั้งแต่สิ่งใกล้ตัว สิ่งไกลตัว สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึhนรวมถึงตัวบุคคล ดังนัhนจึงมีผู้รู้และหน่วยงานทางการศึกษาได้ให้แนวคิดต่างๆ ไว้มากมาย เพื่อวัตถุประสงค์ของการจำแนกประเภทของแหล่งเรียนรู้ให้เป็นกลุ่มเป็นระเบียบเพื่อสะดวกต่อการเรียกชื่อและใช้ประโยชน์ ดังนี้
            กระทรวงศึกษาธิการ (2544) ได้จำแนกแหล่งเรียนรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทธรรมชาติ ประเภท สิ่งพิมพ์ ประเภทเทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทุกประเภท
            กระทรวงศึกษาธิการ (2545) จำแนกแหล่งเรียนรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
            1. แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนได้แก่ ห้องสมุด ห้องหมวดวิชา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องอินเตอร์เน็ต ศูนย์วิชาการ ศูนย์วิทยบริการ ศูนย์โสตทัศนศึกษา ศูนย์สื่อการเรียนการสอน ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน Resource Center สวนพฤกษศาสตร์ สวนวรรณคดี สวนสมุนไพร สวนสุขภาพ สวนหนังสือ ธรรมะ ฯลฯ
            2. แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์ องค์การของรัฐ และเอกชน
            รัชนีกร ทองสุขดี (2545) จำแนกแหล่งเรียนรู้ออกเป็น 6 ประเภท คือ
            1. ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่ถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้ผู้สนใจต้องการจะเรียนรู้ในท้องถิ่น ได้แก่ บุคคลที่มีทักษะ ความสามารถในสาขาอาชีพต่างๆ เช่น ช่างฝีมือ ช่างทอง ช่างไม้ ศิลปินทุกแขนง นักกฎหมาย นักหนังสือพิมพ์ ผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้มีอาวุโสที่ประสบการณ์สูงเป็นต้น
            2. ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ให้ประโยชน์ต่อมนุษย์ ได้แก่ ดิน น้ำ อากาศ ป่ าไม้ สัตว์ แร่ธาตุ เป็นต้น
          3. ประเภทวัตถุและสถานที่ หมายถึง อาคารสิ่งก่อสร้าง วัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น ประชาชนศึกษาหาความรู้ให้ได้มาซึ่งคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการ เช่น โรงน้ำประปา ที่ว่าการอำเภอ โรงพยาบาล และสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวสามารถพบเห็นในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
            4. ประเภทสื่อ หมายถึง บุคคลหรือสื่อที่ติดต่อให้ถึงกัน หรือชักนำให้รู้จักกัน ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ ทักษะและเจตคติ ด้วยการส่งผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 แหล่งวิทยากร ประเภทสื่อนี้ ทำให้กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ชาติสามารถดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง และที่สำคัญที่สุด คือ สามารถกระจายความรู้ไปสู่ทุกพื้นที่โลกอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
                        4.สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ (โปสเตอร์ จุลสารแผ่นปลิว ป้ายประกาศ)
                        4.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่อาศัยเทคนิคด้านอิเล็กทรอนิกส์ สร้างสรรค์ในรูปของเสียงและภาพ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทตา หู แบ่งได้เป็น 2 พวก คือ สื่อที่ให้เสียงอย่างเดียว และสื่อที่ให้ทั้งภาพและเสียง
            5. ประเภทเทคนิค หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านต่างๆซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้น สิ่งที่มนุษย์ทำการปรับปรุง อาทิ โรงงานที่ทันสมัย ระบบสื่อสารคมนาคม ศูนย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือหรือระบบใหม่ๆ ที่นำเข้ามาใช้ในท้องถิ่น ซึ่งช่วยให้เรียนรู้ถึงความก้าวหน้าของมนุษย์ช่วยให้ผู้เรียนเกิดจินตนาการ เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ความคิดและสิ่งประดิษฐ์คิดค้น
            6. ประเภทกิจกรรม หมายถึง การปฏิบัติด้านประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ การปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการตลอดจนความเคลื่อนไหวในการแก้ปัญหาและปรับปรุงพัฒนาสภาพต่างๆ ในท้องถิ่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม อาทิ การรณรงค์ป้องกันสารเสพติด การส่งเสริมการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและการรณรงค์ความปลอดภัยของเด็กและสตรีในท้องถิ่น เป็นต้น
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) แบ่งประเภทของแหล่งเรียนรู้ เป็น 4 ประเภท ดังนี้
            1. แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล คือ ผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะภูมิปัญญา มีประสบการณ์ในสาขาอาชีพต่างๆ ในท้องถิ่นที่สามารถถ่ายทอดความรู้ ทักษะ เจตคติ ให้แก่ผู้ที่สนใจต้องการเรียน
            2. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสถานที่หรือวัตถุสิ่งก่อสร้างต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
                        2.สถานที่ที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดิน แหล่งน้ำ ป่ า ภูเขา สัตว์ พืช แร่ธาตุ
                        2.สถานที่ที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ตลาด โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
            3. แหล่งการเรียนรู้ประเภทสื่อที่เป็นตัวกลาง ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะประสบการณ์ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
                        3.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น เอกสาร หนังสือ ตำรา ใบปลิว จุลสาร ฯลฯ
                        3.สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งทั้งให้ภาพและเสียง เช่น ภาพยนตร์โทรทัศน์ วีดีทัศน์ สไลด์ รูปภาพ ฯลฯ
            4. แหล่งการเรียนรู้ประเภทกิจกรรม เทคนิค วิธีการ เช่น แบบต่างๆ เทคนิคกระบวนการทำงานหรือการแก้ปัญหาต่างๆ ในท้องถิ่น
            สรุป จากแนวความคิดการจำแนกประเภทแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถสรุปตามลักษณะของแหล่งเรียนรู้ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ประเภทบุคคล ประเภทสถานที่ และประเภทสื่อ ซึ่งแต่ละประเภทกำหนดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้ในการศึกษาหาความรู้ของสถานศึกษาในระบบได้ 2 แหล่ง คือ แหล่งเรียนรู้ภายในและแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา ดังนี้
            1. แหล่งเรียนรู้ภายในประเภทบุคคล ได้แก่ ครูอาจารย์ ประเภทสถานที่ ได้แก่ สภาพแวดล้อมภายใน ห้องสมุดและห้องปฏิบัติการต่างๆ ประเภทสื่อ ได้แก่ วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์การสอน สิ่งพิมพ์และเครื่องมือเทคโนโลยี เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน
            2. แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียนประเภทบุคคล ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทสถานที่ ได้แก่ อาคารสถานที่ที่รวบรวมหรือเป็นแหล่งความรู้เฉพาะด้านที่อยู่นอกสถานศึกษาประเภทสื่อได้แก่ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ไม่มีอยู่ในสถานศึกษา การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ เป็นงานหนึ่งของงานวิชาการที่ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องบริหารและจัดการให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน ดังนั้นการใช้กระบวนการบริหารและการจัดการแหล่งเรียนรู้จึงใช้เช่นเดียวกันกับกระบวนการบริหารและการจัดการงานวิชาการ ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ การนิเทศติดตาม
จุดมุ่งหมายของการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ ดังนี้
            1. เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้
            2. เพื่อสนับสนุนให้มีการจัดและการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วให้เกิดคุณค่าต่อการเรียนรู้อย่างแท้จริง
            3. เพื่อสนับสนุนการจัดและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและระบบ
            4. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชน
            5. เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางการศึกษาที่มีอยู่และที่จะรับมาในอนาคตได้เต็มศักยภาพ
            6. เพื่อให้ผู้เรียนมีแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกที่เหมาะสมคอยให้บริการผู้เรียน
          สรุป จุดมุ่งหมายของการจัดหาและใช้แหล่งเรียนรู้ คือ การดำเนินการให้มีและใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตรและเกิดคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้
            สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2548) กล่าวว่า การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งในระบบและนอกระบบให้มีประสิทธิภาพ มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้
            1. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนให้เจ้าหน้าที่และบุคลากรทุกระดับรู้ว่าคืออะไร มีลักษณะอย่างไรมีความสำคัญอย่างไร เป็นต้น
            2. มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน หน่วยงานส่วนกลางควรกำหนดนโยบายให้ชัดเจนว่าจะมีการรณรงค์เพื่อพัฒนาแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลายขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตและนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติในทุกพื้นที่
            3. มีการจัดทำแผนในระดับพื้นที่ในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ควรให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในระดับพื้นที่สำรวจและจัดทำแผนว่าในชุมชนที่รับผิดชอบควรมีการสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนใดขึ้นบ้าง
            4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดแผนในการสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในแต่ละชุมชน ควรส่งเสริมให้ประชาชนซึ่งรู้สภาพปัญหาในชุมชนของตนเป็นอย่างดีได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของชุมชน
            5. หน่วยงานส่วนกลางสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรในการจัดสร้างหรือพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนบางชนิด อาจต้องมีการใช้งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ นอกเหนือจากขอความร่วมมือจากหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานส่วนกลางควรให้การสนับสนุน


วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กิจกรรม (Activity)


กิจกรรม (Activity)
1. สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเรื่องนิยามความหมาย: ทฤษฎี ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
          ตอบ ทฤษฎีหลักสูตร  ออร์นสไตน์และฮันกิน (Ornstein A.C. & Hunkins. F.P. 2004) อธิบายว่า ทฤษฎีหลักสูตร หมายถึง ข้อความที่อธิบายความหมายของหลักสูตร โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของหลักสูตรและเป็นแนวทางในการศึกษา การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินผลหลักสูตร
            แมคไซส์ (Maccias. 1963, อ้างถึงใน Ornstein & Hunkins. 2004) ได้จัดกลุ่มทฤษฎีหลักสูตรเป็น 4 ทฤษฎี คือ
            1. ทฤษฎีหลักสูตรแบบเป็นทางการ (Formal Theory) เป็นทฤษฎีหลักสูตรที่กล่าวถึงหลักการและกฎเกณฑ์ และโครงสร้างหลักสูตรโดยทั่วไป
            2. ทฤษฎีสิ่งเกิดขึ้นกับหลักสูตร (Event Theory) เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นและการทำนายสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลักสูตรอีกด้วย
            3. ทฤษฎีการประเมินค่าหลักสูตร (Valuation Theory) เป็นทฤษฎีที่อธิบายความเหมาะสมของหลักสูตรที่จะช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์
            4. ทฤษฎีการกระทำของมนุษย์ (Praxiological Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์และพฤติกรรมที่ตามมา ตัวอย่างแนวคิดของทฤษฎีนี้อ้างอิงเกี่ยวกับวิถีทางที่เหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จอะไรเป็นคุณค่าที่ต้องพิจารณาในการปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ
ทฎษฎีการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์     
          1. มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่โรงเรียนควรแสวงหา
          2. มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
          3. จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
          4. จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร จึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
คำถามทั้ง 4 ประการนี้ ตรงกับองค์ประกอบที่สำคัญในการวางแผนหรือพัฒนาหลักสูตร    4 ด้าน ตามลำดับดังนี้ 1. การตั้งเป้าประสงค์ 2. การเลือกเนื้อหา 3. การสอน และ 4. การประเมินผล
           ทาบา ได้กล่าวถึงลำดับขั้นในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1วิเคราะห์สภาพ ปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม รวมทั้งศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนธรรมชาติของความรู้ เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการกำหนดจุดประสงค์
ขั้นที่ 2 กำหนดจุดประสงค์ของการศึกษา โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลักในการพิจารณา
ขั้นที่ 3 คัดเลือกเนื้อหาวิชาที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับความต้องการและความจำเป็นของสังคม โดยคัดเลือกมาให้เรียนโดยเฉพาะที่ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นที่ 4 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของเนื้อหาวิชาที่คัดเลือกมา
ขั้นที่ 5 คัดเลือกประสบการณ์การเรียน โดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และวิธีสอนแบบต่างๆ เป็นแนวทาง
ขั้นที่ 6 จัดระเบียบ ลำดับ และขั้นตอนของประสบการณ์การเรียน
ขั้นที่ 7 ประเมินผล เป็นขั้นที่จะทำให้ทราบว่าการพัฒนาหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด โดยปกติจะพิจารณาจากผลของการใช้หลักสูตร นั่นคือ พิจารณาว่าผู้เรียนได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ เนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนการสอนมีความเหมาะสมเพียงใด
ขั้นที่ 8 ตรวจสอบความคงที่ และความเหมาะสมในแต่ละขั้นตอน โดยตรวจสอบตามแนวของคำถามที่มีลักษณะดังนี้
          - เนื้อหาวิชาที่จัดขึ้นเกี่ยวข้องกับจุดประสงค์หรือไม่
          - ประสบการณ์การเรียนได้ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดประสงค์หรือไม่
          - ประสบการณ์การเรียนที่จัดขึ้นมีความเหมาะสมเพียงใด
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเคอร์
เคอร์ (John F. Kerr) เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร เรียกว่าเป็น Operational Model มีจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้มาจากแหล่งข้อมูล 3 แหล่ง ได้แก่
          1. ระดับพัฒนาการ ความต้องการ และความสนใจของนักเรียน
          2. สภาพ ปัญหา และความต้องการของสังคมที่นักเรียนต้องเผชิญ
          3. ธรรมชาติของเนื้อหาวิชาและชนิดของการเรียนรู้
นำจุดมุ่งหมายมาคัดเลือกและจัดอันดับ โดยนำเอารูปแบบการจำแนกประเภทจุดประสงค์ทางการศึกษาของบลูม (Benjamin S. Bloom) และคณะ ที่แบ่งจุดประสงค์ทางการศึกษาออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธวิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษพิสัย มาช่วยในการพิจารณาจำแนกจุดประสงค์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ขั้นต่อไป ได้แก่ การจัดประสบการณ์การเรียน ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์และเนื้อหาวิชาที่จัดไว้แล้ว และในการจัดประสบการณ์การเรียนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ อีก เช่น ความพร้อมของผู้เรียน ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน วิธีสอน เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ได้แก่ การประเมินผล ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร โดยใช้วิธีการหลายวิธี เช่น การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น
เคอร์ได้ใช้ลูกศรโยงระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรเป็นการเน้นว่า องค์ประกอบเหล่านั้นจะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวี
เลวี (Arich Lewy) ได้กล่าวถึงขั้นตอนและงานสำคัญในการพัฒนาหลักสูตรดังนี้ รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของเลวีแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร ขั้นเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการเรียน และขั้นดำเนินการ
          1. ขั้นเตรียมโครงร่างของหลักสูตร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเลือกจุดมุ่งหมาย
เลือกเนื้อหาวิชา เลือกกิจกรรมการเรียนการสอน
          2. ขั้นเตรียมววัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นย่อยๆ ได้แก่ การสร้างวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการสอน จัดวัสดุอุปกรณ์ตามรายวิชา ทดลองใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นใหม่ และปรับปรุง
          3. ขั้นดำเนินการ แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอนย่อยๆ ได้แก่ การเตรียมจัดระบบงาน ฝึกอบรมครู ปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน ประสานงานกับฝ่ายวิชาการ ควบคุมคุณภาพ ปรับปรุงและนำมาใช้ใหม่
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของ สสวท.
           สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ทำการพัฒนาหลักสูตรวิทายาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาและประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2519 ในการพัฒนาหลักสูตรนอกจากจะปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ยังพัฒนาด้านแผนการเรียนการสอนและการวัดผลอีกด้วย
หลักของการพัฒนาหลักสูตร
          จากรูปแบบและทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร สรุปเป็นหลักของการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
          1. ใช้พื้นฐานจากประวัติศาสตร์ ปรัชญา สังคม จิตวิทยา และวิชาความรู้ต่างๆ
          2. พัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยวิเคราะห์ปัญหาความต้องการและความจำเป้นต่างๆ ของสังคม
          3. พัฒนาให้สอดคล้องกับระดับพัฒนาการ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
          4. พัฒนาให้สอดคล้องกับหลักของการเรียนรู้
          5. ในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียน จะต้องพิจารณาความเหมาะสมในด้านความยากง่าย ลำดับก่อนหลัง และบูรณาการของประสบการณ์ต่างๆ
          6. พัฒนาในทุกจุดอย่างประสานสัมพันธ์กัน ตามลำดับจากจุดประสงค์ สาระความรู้และประสบการณ์ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
          7. พิจารณาถึงความเป็นไปได้สูงในทางปฏิบัติ
          8. พัฒนาอย่างเป็นระบบ
          9. พัฒนาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
          10.  มีการวิจัยติดตามผลอยู่ตลอดเวลา
          11.  ดำเนินการในรูปของคณะกรรมการ
          12.  อาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย (บุญชม ศรีสะอาด,  2546:63-73)


วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)

ตรวจสอบทบทวน (Self-Test)
1. จงนำเสนอแนวคิดต่อพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านต่าง ๆ ด้านใดมีความสำคัญและควาจำเป็นมากที่สุดหรือน้อยที่สุด
          ตอบ แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
          หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
          ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์             
    แนวคิดของคาร์ล โรเจอร์
           คาร์ล อาร์ โรเจอร์ จะเน้นการเรียนรู้ในประเด็นที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้น บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมการสอนที่ปฏิบัติกันอยู่เพราะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนเรียนในสิ่งที่ครูอยากจะให้เขารู้ จึงมีความเชื่อว่า การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อสังคมหยุดอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง คาร์ล โรเจอร์ จะไม่เน้นการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เน้นถึงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
              1. ความจริง หมายถึง ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จะต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เป็นไปตามความเป้นจริงตามธรรมชาติ หรือแก่นแท้ของตนเอง
              2. การยอมรับและการให้เกียรติผู้เรียน หมายถึง ครูหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ จะมีทัศนคติเกี่ยวกับการยอมรับ ไว้ใจ และให้เกียรติต่อความรู้สึก ความเชื่อ ความคิดเห็นของผู้เรียน และผู้เรียนต้องยอมรับว่าบุคคลทุกคนต่างก็มีความหมายในตัวของตนเอง
              3. ความเข้าใจ จะเป็นตัวเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีการประเมินเข้ามาเกี่ยวข้อง ในทำนองรู้จักเอาใจเรามาใส่ใจเขา ไม่ตำหนิติเตียน
    แนวคิดของอาเทอร์ โคมส์
                อาเทอร์ เป็นศิษย์คนสำคัญของคาร์ล โรเจอร์ ที่พยายามเผยแพร่การเรียนรู้ด้านแรงจูงใจ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้เชิงเชิงจิตลักษณะเชื่อว่าเจตคติ ความรู้สึก และอารมณ์ของนักเรียนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 ประการ ดังนี้
              1. สมององคนเราเกี่ยวข้องกับความหมายโดยตรง
               2. การเรียนรู้คือการค้นพบความหมายของแต่ละคน
               3. ความรู้สึกและอารมณ์เป็นเสมือนดัชนีของความหมาย
               4. องค์ประกอบเชิงความรู้สึกที่ใช้ในการเรียนรู้
           อาเทอร์ โคมส์ ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเตือนใจไว้ว่า ในบางครั้งความจริงเกิดขึ้นเหมือนกันที่ผู้สนับสนุนความสำคัญของความหมายได่ทุ่มเทและยึดอยู่กับความเข้าใจตนเอง ค่านิยม หรือความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งมากกว่าลักษณะปกติของหลักสูตร และจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วงการจัดการศึกษาเชิงจิตลักษณ์ แต่ความผิดพลาดยังเสียหายน้อยกว่าความผิดพลาดของคนที่ไม่ยอมรับ และไม่ทราบถึงธรรมชาติหน้าที่สำคัญของความรู้สึก และอารามณ์ที่เกิดจากการวิจัยและทฤษฎี
          แนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจ จะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลคือ เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่ให้ความสบายใจแก่ผู้เรียน และการยอมรับคุณค่าของกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน นอกจากนี้การจัดหลักสูตรโดยอาศัยแนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจจะเน้น และให้ความสำคัญในการปลูกฝังทางด้านจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้สึก เจตคติ และบุคลิกภาพที่ดี
          การพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม รวมไปถึงพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญดังต่อไปนี้
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
            ปรัชญาการศึกษานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร โดยใช้กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระและนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ ทำให้หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ  ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
            ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
          ในการจัดทำหลักสูตรนั้น นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
            1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
            2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
            3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
            4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
           นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
          โดนัล คลาก (Donald Clark) กล่าวว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและใช้ประโยชน์ได้มาก เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้
            - จำนวนผู้เรียน
            - ทำเล/ที่ตั้งของผู้เรียน
            - การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน รวมถึงประสบการณ์ในปัจจุบัน
            - ภูมิหลังของผู้เรียน
            - ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการกับระดับทักษะในปัจจุบัน
            - ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน
            - สิ่งเร้าของผู้เรียน
            - แรงจูงใจของผู้เรียน
            - ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
            - ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
              ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5 ยุคคือ
             1. ยุคเกษตรกรรม
             2. ยุคอุตสาหกรรม
             3. ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล
             4. ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้
             5. ยุคปัญญาประดิษฐ์
                   การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เพราะบางรายวิชา สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา  โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้ สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ 
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ 
          1. นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
          2. ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
          ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
 พื้นฐานทางด้านการเมือง การปกครอง
          การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น
 พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
           ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
           1. การเตรียมกำลังคน การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
           2. การพัฒนาอาชีพ จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
           3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
           4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม
           6. การลงทุนทางการศึกษา คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด