วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

การพัฒนาหลักสูตร


การพัฒนาหลักสูตร
ความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
                การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ และเป็นการวางแผนการประเมินผลให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เรียน ว่าได้บรรลุตามความมุ่งหมายและจุดประสงค์จริงหรือไม่ เพื่อผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะได้รู้และคิดเพื่อแก้ไขปรับปรุงต่อไป ดังนั้นหลักสูตรที่ดีและเหมาะสมจะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกาลเวลา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการปกครองของประเทศตลอดจนความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ
                ในอดีตนักพัฒนาหลักสูตรจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับเป้าหมาย เนื้อหาและวิธีการสอนของหลักสูตรโดยไม่ค่อยสนใจหรือคำนึงผู้เรียนว่าจะมีความรู้สึกหรือมีผลกระทบอย่างไร ปกตินักพัฒนาหลักการสูตรจะกำหนดจะกำหนดจุดมุ่งหมายให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนเป็นสำคัญ และเนื้อหาสาระตลอดทั้งกระบวนการเรียนการสอนก็จะต้องเป็นเรื่องของครูที่จะต้องคิดมาหา ครูมักจะหาเนื้อเรื่องและวิธีการเรียนการสอนโดยคำนึงว่าผู้เรียนคิดอย่างไร มีความรู้สึกอย่างไรและมีความต้องการอย่างไร แต่ในปัจจุบันแนวคิดนี้ได้เปลี่ยนไป จึงเป็นหน้าที่ของนักพัฒนาหลักสูตรที่จะต้องหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความถูกต้อง ชัดเจนและเป็นประโยชน์กับผู้เรียนมากที่สุด ทั้งนี้ได้มีผู้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตร
                สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร (curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
                บุญมี เณรยอด (2531:18) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงโครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
                สงัด อุทรานันท์ (2532: 30) กล่าวคำว่า “การพัฒนา” หรือ คำในภาษาอังกฤษว่า “development”มีความหมายที่เด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรก หมายถึง การทำให้ดีขึ้น หรือ ทำให้สมบูรณ์ขึ้น และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น โดยเหตุนี้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจึงอาจมีความหมายได้ 2 ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความหมายแรก หมายถึง การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น และอีกความหมายหนึ่งก็ คือ เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
                หัทยา เจียมศักดิ์ (2539: 12) ให้ความหมายว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
                สวัสดิ์ จงกล (2539: 19) ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่างๆเพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
                จากการที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การปรับ แต่ง เสริม เติมต่อ หรือการดำเนินงานอื่นๆเพื่อให้ได้มาซึ่งความเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและสนองต่อความต้องการของผู้เรียน 
                1. การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น หรือสมบูรณ์ขึ้น เป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียนจุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล (Good)
                2. การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานเลยโดยจัดให้เหมาะกับความต้องการของบุคคล และสภาพสังคม (Saylor and Alexander)
ความสําคัญของหลักสูตร
                ความสําคัญของหลักสูตร นอกจากจะเป็นเครื่องกําหนดแนวทางในการจัดการศึกษาและเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาแล้ว ความสําคัญของหลักสูตร อาจพอสรุปได้ดังนี้
                ความสําคัญของหลักสูตร นอกจากจะเป็นเครื่องกําหนดแนวทางในการจัดการศึกษาและเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาแล้ว ความสําคัญของหลักสูตร อาจพอสรุปได้ดังนี้
                1.เป็นเอกสารของทางราชการหรือเป็นบัญญัติของรัฐ เพื่อให้บุคคลที่ทําหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาไปปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ดังนั้นหลักสูตรจึงเปรียบเสมือนคําสั่ง หรือข้อบังคับของทางราชการชนิดหนึ่งนั่นเอง
                2.เป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษาเพื่อควบคุมการเรียนการสอนในสถาบัน การศึกษาระดับต่างๆ รวมทั้งเป็นเกณฑ์มาตรฐานอย่างหนึ่ง ในการที่จะจัดสรรงบประมาณ บุคลากร อาคาร สถานที่และวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาของรัฐให้แก่โรงเรียน
                3.เป็นแผนการดำเนินงานของนักบริหารการศึกษา ที่จะต้องอำนวยการ ควบคุม ดูแลกำกับ และติดตามประเมินผล ให้เป็นไปตามนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ
                4.เป็นแผนการปฏิบัติงาน หรือเครื่องชี้นำทางในการปฏิบัติงานของครู เพราะหลักสูตรจะเสนอแนะจุดมุ่งหมาย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผลการเรียน การสอนซึ่งครูควรจะปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
                5.เป็นเครื่องมือของรัฐในอันที่จะพัฒนาคน และพัฒนากำลังคน ซึ่งจะเป็นตัวสำคัญใน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามแผนและนโยบายของรัฐ
                6.เป็นเครื่องชี้ถึงความเจริญของชาติ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน ประเทศชาติใดมีหลักสูตรที่เหมาะสม ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้คนในประเทศนั้นมี คุณภาพ รู้จักเลือกสรรและใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาด สามารถนำพาสังคมและคนในสังคมก้าวไป พร้อมๆ กับกระแส โลกาภิวัตน์ได้

ประเภทของหลักสูตร
                การแบ่งประเภทของหลักสูตรเป็นการแบ่งตามแนวคิด ปรัชญา และทฤษฎีของ การศึกษา ประเภทของหลักสูตรออกได้เป็น 9 แบบ ดังนี้
                1.หลักสูตรรายวิชา (Subjective Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรดั้งเดิม โดยเน้น เนื้อหาสาระซึ่งลักษณะหลักสูตรแบบนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจเนื้อหาสาระซึ่งลักษณะหลักสูตร รายวิชาจะมีลักษณะดังนี้
                                1.1 เนื้อหาสาระแต่ละรายวิชาจะแยกจากกัน เช่น วิชาเลขคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาสอนแยกออกจากกันเป็นรายวิชา
                                1.2 แต่ละวิชาจะมีลำดับของเนื้อหาสาระ มีขอบเขตของความรู้ที่เรียงลำดับความ ยากง่ายและไม่เกี่ยวโยงถึงวิชาอื่นๆ
                                1.3 วิชาแต่ละวิชา ไม่ได้โยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้นั้นกับการปฏิบัติใน สถานการณ์จริง
                                1.4 การเลือกเนื้อหาสาระ และการจัดเนื้อหาสาระ โดยยึดคุณค่าที่มีอยู่ในตัวของ เรื่องที่สอนนั้น โดยมีแนวคิดว่าผู้เรียนสามารถนำเอาไปใช้เมื่อต้องการ
                2.หลักสูตรสหพันธ์ (Correlated Curriculum) หลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาอื่นที่ มีความสัมพันธ์กันมารวมเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ 2 วิชา โดยไม่ทำลาย ขอบเขตวิชาเดิม คือ ไม่ได้มีการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน เช่น การจัดเนื้อหา เน้นให้เห็น ความสัมพันธ์ ระหว่างระบบอิเล็กทรอนิกส์และโทรทัศน์ ความสัมพันธ์ระหว่างการเลี้ยงหมูและ การปลูกพืช โดยแสดงให้เห็นแต่ละวิชาจะเสริมกันได้อย่างไร
                3.หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) เป็นการจัดหลักสูตรที่มุ่งเน้นรายวิชา โดยสร้างจากเนื้อหาวิชาที่เคยแยกสอนให้เป็นวิชาเดียวกัน แต่ยังคงรักษาเนื้อหาพื้นฐานของแต่ ละวิชาไว้ หลักสูตรแบบนี้ แตกต่างจากหลักสูตรสหสัมพันธ์ที่มีบูรณาการระหว่างวิชามากกว่า คือ การสอนวิชาเหมือนสอนวิชาเดียว
                4.หลักสูตรหมวดวิชา (Board Field Curriculum) เป็นรูปแบบหลักสูตรที่มีลักษณะ หลายหลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสหสัมพันธ์และหลักสูตรแบบผสมผสาน โดยการนำเนื้อหาวิชา หลายๆ วิชา จัดเป็นวิชาทั่วไปที่กว้างขวางขึ้น โดยเน้นถึงการรักษาคุณค่าของความรู้ที่มีเหตุผล มีระบบ เช่น มนุษย์กับเทคโนโลยี มนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น
                5.หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นแกน ของวิชาอื่นๆ โดยเน้นเนื้อหาด้านสังคมและหน้าที่พลเมือง เพื่อการแก้ปัญหา เช่น ประชากรและ มลภาวะ การดำรงชีวิตในเมืองและชนบท
                6.หลักสูตรที่เน้นทักษะกระบวนการ (Process Skills Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ มุ่งให้เกิดทักษะกระบวนการ เช่น ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการในการ แก้ปัญหา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถในด้านทักษะกระบวนการดังนี้
                                6.1 มีความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้
                                6.2 ใช้กระบวนการให้เป็นสื่อไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ
                                6.3 ให้รู้ธรรมชาติของกระบวนการ
                7.หลักสูตรที่เน้นสมรรถฐาน (Competency or Performance base Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างจุดมุ่งหมาย กิจกรรม การเรียนการสอน และ ความสามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน ในการจัดหลักสูตรแบบนี้จะต้องกำหนดความสามารถใน การปฏิบัติที่ต้องการไว้เป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม หรือจุดประสงค์ด้านความสามารถ จากนั้น ก็วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุแต่ละจุดประสงค์และมีการตรวจสอบ การปฏิบัติของผู้เรียนก่อนที่จะผ่านไปเรียนตามจุดประสงค์ถัดไป เช่น การฝึกสอนแบบจุลภาค การสอนพิมพ์ดีด
                8.หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities and Problem Curriculum)หลักสูตรแบบนี้จะแตกต่างกันไปตามแนวคิดของแต่ละกลุ่ม เช่น ผู้ที่มีแนวคิดว่า หลักสูตรควรตรงกับการดำรงชีวิตในสังคมจริง ในการสร้างหลักสูตรจึงยึดรากฐานของหน้าที่ทาง สังคม หากมีแนวความคิดว่าหลักสูตรควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหา หรือเรื่องต่างๆ ของชีวิตใน สังคมชุมชน เช่น การป้องกันมลภาวะ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
                9.หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual Needs and Interest Curriculum) เป็นหลักสูตรที่เน้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เช่น การเน้นที่ผู้เรียน การเน้นที่ประสบการณ์ โดยหลักสูตรที่สร้างขึ้นตามความรู้ และความ สนใจของผู้เรียนมีความยืดหยุ่นสูง และผู้เรียนสามารถเรียนได้เป็นรายบุคคล เช่น หลักสูตรของ โรงเรียน Summer Hill ที่อังกฤษ ซึ่ง นิล (Niel 1960) สร้างขึ้น โดยทำโรงเรียนให้สอดคล้องกับ เด็ก เป็นต้น (ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, 2546, หน้า 27-29)
 
องค์ประกอบของหลักสูตร 
                องค์ประกอบของหลักสูตร หมายถึง ส่วนที่อยู่ภายในและประกอบกันเข้าเป็นหลักสูตร เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ความหมายของหลักสูตรสมบูรณ์ เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการ สอน การประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรไปด้วย
ตามแนวคิดของนักการศึกษา ได้กล่าวถึงองค์ประกอบไว้ดังนี้
                1.ไทเลอร์ (Tyler 1968, 1) กล่าวว่า โครงสร้างของหลักสูตร มี 4 ประการ คือ
                                1.1 จุดมุ่งหมาย (Educational Purpose) ที่โรงเรียนต้องการให้ผู้เรียนเกิดผล
                                1.2 ประสบการณ์ (Educational Experience) ที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อให้จุดมุ่งหมาย บรรลุผล
                                1.3 วิธีการจัดประสบการณ์ (Organizational of Educational Experience) เพื่อ ให้การสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                1.4 วิธีการประเมิน (Determination of What to Evaluate) เพื่อตรวจสอบ จุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
                2.ทาบา (Taba, 1962, p. 422-423) กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตร 4 องค์ประกอบ คือ 
                                2.1 วัตถุประสงค์ทั่วไป และวัตถุประสงค์เฉพาะ
                                2.2 เนื้อหาและจำนวนชั่วโมงสอนแต่ละวิชา
                                2.3 วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                                2.4 วิธีการประเมินผล องค์ประกอบดังกล่าวสามารถแสดงความสัมพันธ์ภายในได้ดังนี้


                
                3.องค์ประกอบของหลักสูตรในเชิงระบบ
                                โบแชมพ์ (Beauchamp, 1968, p. 108) เป็นผู้กล่าวถึงองค์ประกอบของหลักสูตรใน
                เชิงระบบ คือ ส่วนที่ป้อนเข้า (Input) กระบวน (Process) และผลลัพธ์ที่ได้ (Output) ซึ่งสามารถ
                แสดงให้เห็นตามภาพประกอบที่ 2



รูปแบบของหลักสูตร (Curriculum Design)

                รูปแบบของหลักสูตรหรือประเภทของหลักสูตรมีอยู่หลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็มี แนวความคิด จุดมุ่งหมาย โครงสร้างแตกต่างกันออกไป ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
                1. หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหาวิชา (Subject-Matter-Curriculum)
                2. หลักสูตรแบบหมวดวิชา (Broad-Field-Curriculum)
                3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (Social Process and Life Function)
                4. หลักสูตรแบบแกนกลาง (The Core Curriculum)
                5. หลักสูตรที่ยึดกิจกรรมและประสบการณ์ (The Activity and Experience Curriculum)
                6. หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum)
                7. หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (Correlate Curriculum)
                8. หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (Individualized Curriculum)
                9. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (Personalized Curriculum)

                1.หลักสูตรแบบเน้นเนื้อหาวิชา (Subject-Matter-Curriculum)
เป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งในการสอนศาสนา ละติน กรีก อาจเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า เป็นหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นศูนย์กลาง (Subject-Centered-Curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับ วิธีการสอนของครูที่ใช้วิธีบรรยาย ปรัชญาการจัดการศึกษาแนวนี้จะยึดปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) และสัจวิทยานิยม (Perennialism)
                2.หลักสูตรแบบหมวดวิชา (Broad-Field-Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่กำหนดเนื้อหาวิชาไว้กว้างๆ โดยนำความรู้ในกลุ่มวิชาผสมผสานกันเข้า เป็นหมวดวิชาเดียวกัน เช่น
หมวดสังคมศึกษา รวมเอาวิชาภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม เข้าด้วยกัน
หมวดวิทยาศาสตร์ รวมเอาวิชาเคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์เข้าด้วยกัน
หมวดคณิตศาสตร์ รวมเอาวิชาเลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิตเข้าด้วยกัน
การสอนจะเน้นการผสมผสานเนื้อหาวิชาเข้าด้วยกัน มักจะเป็นการสอนแบบหน่วย หรือการสอนแบบบูรณาการ ครูผู้สอนจะต้องได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี มีเอกสารประกอบการ เรียนที่สอดคล้องกัน
                3.หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (Social Process and Life Function)
เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นโดยยึดสังคมเป็นหลัก โดยคำนึงถึงความต้องการและความ สนใจของผู้เรียนเป็นพื้นฐาน ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้ เป็นความคิดตามนักการศึกษา John Dewey โดยยึดหลักปรัชญาพิพัฒนาการ นิยม (Progressivism) จึงมีวัตถุประสงค์จะให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการสร้าง และปฏิรูปเสีย ใหม่ ให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียน โดยยึดงานหรือกิจกรรมเป็นหลัก ครู เป็นเพียงผู้เสนอแนะแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างครู-นักเรียน นักเรียน- นักเรียน
                4.หลักสูตรแบบแกนกลาง (The core Curriculum)
หลักสูตรนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะและเจตคติเพื่อไปพัฒนา สังคมให้ดีขึ้น โดยกำหนดให้มีวิชาแกนซึ่งทุกคนจำเป็นต้องเรียนตามภาพประกอบที่ 3

คุณลักษณะของหลักสูตรแกน มีดังนี้
                1. มีสัดส่วนของวิชาตามความต้องการของผู้เรียนครบทุกคน
                2. มีวิชาร่วมที่ทุกคนต้องเรียน เช่น ภาษา สังคมศึกษา
                3. เนื้อหาวิชาเป็นลักษณะการแก้ไขปัญหาโดยนำวิชาต่างๆ รอบๆ แกนมาใช้
                4. มีการจัดเวลาการเรียนสำหรับแกนกลางประมาณ 2-3 คาบ โดยให้ครูที่เป็น แกนกลางหรือครูอื่นๆ มาช่วยจัดกิจกรรม
                5. กระตุ้นให้ครูร่วมวางแผนการเรียนร่วมกับนักเรียน
                6. มีการแนะแนวให้ผู้เรียนปกติหลักสูตรแกนนี้อาจเหมาะสมกับนักเรียนระดับมัธยมต้น และมัธยมปลายมากกว่า แต่ถ้าในระดับอุดมศึกษาแล้วหลักสูตรนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ
                5.หลักสูตรที่ยึดกิจกรรมและประสบการณ์ (The Activity and Experience)
เป็นรูปแบบของหลักสูตรที่สร้างขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาวิชา โดยไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน การจัดหลักสูตรนี้ยึดหลักการที่ว่า ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่คำนึงถึงประสบการณ์ที่มีประโยชน์ และมีการวางแผนร่วมกัน การทำ กิจกรรมเน้นการแก้ปัญหา โดยยึดหลักปรัชญาการศึกษาแบบพิพัฒนาการนิยม (Progressivism) นั่นคือ ผู้เรียนจะต้องรู้จักวิธีการแก้ปัญหา ลงมือกระทำ วางแผนด้วยตนเอง เป็นการเรียนโดย การกระทำ (Learning by doing) เหมาะสำหรับเด็กระดับชั้นประถมศึกษา ปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อ หลักสูตรนี้คือ ครู โรงเรียน วัสดุอุปกรณ์ การจัดตารางสอน การจัดชั้นเรียน การบริหารงาน
                6.หลักสูตรแบบบูรณาการ (Integrated Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์ในการเรียน โดยผู้ทำหลักสูตรคัดเลือกตัดตอนมาจาก หลายๆ สาขาวิชา มาจัดเข้าเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่ ต่อเนื่อง มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิต และต่อพัฒนาการของผู้เรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตรนี้ เน้นที่ตัวผู้เรียนและปัญหาทางสังคมเป็นหลัก
                7.หลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (Correlate Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่มีความสัมพันธ์กันในหมวดวิชา นั่นคือ แทนที่ครูผู้สอนแต่ละวิชาจะต่าง คนต่างสอน ก็นำมาคิดร่วมกัน วางแผนร่วมกันว่าจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบใดจึงจะก่อ ประโยชน์ และให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด ซึ่งอาจทำได้ดังนี้ คือ
                1. จัดให้มีความสัมพันธ์ระดับที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนนัก เช่น สอนวรรณคดีก็ให้วาด ภาพประกอบ
                2. ในวิชาใกล้เคียงหรือคาบเกี่ยวกัน ครูผู้สอนต้องวางแผนร่วมกันว่าจะสอนอย่างไร จึงจะไม่ซ้ำซาก
                3. ครูอย่างน้อยสองหมวดวิชาวางแผนการสอนร่วมกัน และดำเนินการสอนร่วมกัน เป็นคณะ และอาจให้เวลาสอน 2 คาบติดต่อกันไป
                4. ใช้วิชาที่สัมพันธ์กัน 2 วิชา หรือมากกว่านั้น ใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกันโดยใช้ เนื้อหาหลายๆ วิชามาช่วยแก้ปัญหา

                8.หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (Individualized Curriculum)
                เป็นหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการ และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคนการ จัดหลักสูตรแบบนี้ทำให้ผู้เรียนได้เรียนได้เรียนตามความสามารถ และอัตราเร็วของแต่ละคน มี โอกาสเลือกได้มาก ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนแต่ละคนมีความรับผิดชอบ โดยยึดหลักปรัชญา สวภาพนิยม (Existentialism)
                9. หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (Personalized Curriculum)
                เป็นหลักสูตรที่ครูและนักเรียนวางแผนร่วมกัน ตามความเหมาะสมและความสนใจของ ผู้เรียน เรียกว่า สัญญาการเรียนเพื่อส่งเสริมและดึงเอาศักยภาพของผู้เรียนออกมาให้มากที่สุด เท่าที่จะมากได้ ทำให้เกิดความยุติธรรมทางการศึกษามากขึ้น ผู้เรียนมีสาวนร่วมในการวาง แผนการเรียน มีทางเลือกกิจกรรมการเรียนหลายด้าน เป็นการศึกษาที่ประกันได้ว่าผู้เรียนเกิด การเรียนรู้จริง สอดคล้องกับความต้องการ ความสามารถ ความสนใจของตนเองและชุมชน เป็น การจัดหลักสูตรโดยยึดหลักปรัชญาการจัดหลักสูตรโดยยึดหลักปรัชญาสวภาพนิยม (Existentialism) (รุจิร์ ภู่สาระ, 2546, หน้า 8-19)


กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะ รูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้นเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม

สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
                การแสวงหารูปแบบในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะรูปแบบของการพัฒนาหลักสูตรนั้น เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวที่ส่งผลต่อการพัฒนาหลักสูตรได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น การนำรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรมาใช้จะต้องปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริงของชีวิตและสังคม

สงัด อุทรานันท์ (2532 : 36-43) ได้กล่าวถึงกรบวนการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งต่อเนื่องสัมพันธ์เป็น วัฏจักร ดังนี้
                1. จัดวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการพัฒนาหลักสูตร
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                3. การคัดเลือกและจัดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
                4. การกำหนดมาตรการวัดและประเมินผล
                5. การนำหลักสูตรไปใช้
                6. การประเมินผลการใช้หลักสูตร
                7. การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

วิชัย วงษ์ใหญ่ (2533 : 19) ได้เสนอกระบวนการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจรไว้ 3 ระบบโดยเริ่มต้นจากระบบการร่างหลักสูตร ระบบการนำหลักสูตรไปใช้ และระบบการประเมินหลักสูตรซึ่งแต่ละระบบมีรายละเอียดและขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1. ระบบการร่างหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดหลักสูตร โดยดูดความสอดคล้องกับเนื้อหาวิชา สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองหลังจากนั้นกำหนดรูปแบบหลักสูตร ได้แก่ การกำหนดหลักการ โครงร้าง องค์ประกอบหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหา ประสบการณ์การเรียนและการประเมินผลกหลังจากนั้นดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ หรือการสัมมนาและมีการทดลองนำร่อง พร้อมทั้งรวบรวมผลการวิจัยและปรับแก้หลักสูตรก่อนนำไปใช้
                2. ระบบการใช้หลักสูตร ประกอบด้วยการขออนุมัติหลักสูตรจากหน่วยงานหรือกระทรวงดำเนินการวางแผนการใช้หลักสูตร โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์หลักสูตร การเตรียมความพร้อมของบุคลากร จัดงบประมาณและวัสดุหลักสูตร บริหารสนับสนุนจัดเตรียมอาคารสถานที่ ระบบบริหารและจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และติดตามผลการใช้หลักสูตร หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบการบริหารหลักสูตร โดยการดำเนินการตามแผน กิจกรรมการเรียนการสอนแผนการสอน คู่มือการสอน คู่มือการเรียนเตรียมความพร้อมของผู้สอน ความพร้อมของผู้เรียนและการประเมินผลการเรียน
                3. ระบบการประเมินผล ซึ่งประกอบด้วยการวางแผนการประเมินผลการใช้หลักสูตร ทั้งการประเมินย่อย การประเมินระบบหลักสูตร ระบบการบริหารและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน หลังจากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานข้อมูลตามลำดับ

มณฑิชา ชนะสิทธิ์ (2539:17) ได้กล่าวถึงกระบวนการหรือขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
                1.การสร้างหลักสูตร
                                1.1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน
                                1.2 การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                                1.3 การกำหนดเนื้อหาสาระ
                                1.4 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
                                1.5 การกำหนดวิธีกาวัดผลและประเมินผล
                2.การนำหลักสูตรไปใช้
                3.การประเมินผลหลักสูตร
                4.การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร

เฉลา มิสดี (2540:17-19) กล่าวว่า การพัฒนาหลักสูตรที่มีการพัฒนาแตกต่างกันเนื่องมาจากจุดเน้นที่ต่างกัน ได้แก่
                1.การมุ้งเน้นการกระบวนการพัฒนาหลักสูตร ตั้งแต่การศึกษากระบวนการต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานของการสร้างหลักสูตรและการพัฒนารูปแบบหลักสูตร
                2.การมุ่งเน้นกระบวนการสอน เป็นการแบ่งหลักสูตรออกมาเป็นการกำหนดการสอน แผนการสอน คู่มือครู แบบเรียน วัสดุ และสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆเป็นบทบาทนักพัฒนาหลักสูตรในระดับห้องเรียน
                3.การมุ่งเน้นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่ต่อเนื่องกันไป เป็นภาพรวมของการพัฒนาหลักสูตรที่สามารถเรียงลำดับแนวคิดของการพัฒนาหลักสูตรและการสอนได้เต็มรูปแบบ

ธำรง บัวศรี (2542:152) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
                ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
                ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
                ขั้นที่ 3 การกำหนดรูปแบบและโครงสร้างของหลักสูตร
                ขั้นที่ 4 การกำหนดจุดประสงค์ของวิชา
                ขั้นที่ 5 การเลือกเนื้อหา
                ขั้นที่ 6 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้
                ขั้นที่ 7 การกำหนดประสบการณ์การเรียนรู้
                ขั้นที่ 8 การกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอน
                ขั้นที่ 9 การประเมินผลการเรียนรู้
                ขั้นที่ 10 การจัดทำวัสดุหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน

วิชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ (2542 : 88) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
                1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
                3. การกำหนดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
                4. การนำหลักสูตรไปใช้
                5. การประเมินหลักสูตร
                6. การปรับปรุง แก้ไข และเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
                7. กระบวนการพัฒนาหลักสูตร

ทาบา (Taba. 1962 : 12) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้น คือ
                1.การวินิจฉัยความต้องการและความจำเป็นของสังคม
                2.การกำหนดจุดมุ่งหมาย
                3.การเลือกเนื้อหาสาระ
                4.การจัดเนื้อหาสาระ
                5.การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
                6.การจัดประสบการณ์เรียนรู้
                7.การกำหนดวิธีการประเมินผล

เซเลอร์ และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander. 1974 : 27) ได้กล่าวถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ ดังนี้
                1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก
                2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์
                3. การออกแบบหลักสูตร
                4. การนำหลักสูตรไปใช้
                5. การประเมินผลหลักสูตร

เซเลอร์ อเล็กซานเดอร์ และเลวิส (Saylor Alexander and Lewis. 1981 : 30) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วย
                1. การศึกษาตัวแปรต่าง ๆ จากภายนอก ได้แก่ ภูมิหลังของนักเรียน สังคม ธรรมชาติของการเรียนรู้ แผนการศึกษาแห่งชาติ ทรัพยากร และความสะดวกสบายในการพัฒนาหลักสูตรและคำแนะนำจากผู้ประกอบอาชีพ
                2. การกำหนดความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อการออกแบบหลักสูตร โดยนักวางแผนหลักสูตร และใช้ข้อมูลทางการเมืองและสังคมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ การออกแบบหลักสูตร
                3. การนำหลักสูตรไปใช้ โดยครูเป็นพิจารณาความเหมาะสมของการสอน การวางแผนหลักสูตร รวมถึงการแนะนำแหล่งของสื่อการเรียนรู้โดยให้มีความยืดหยุ่นและมีอิสระแก่ครูและนักเรียน
                4. การประเมินผลหลักสูตร ทำโดยครูเป็นผู้พิจารณาขั้นตอนประเมินผล เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน โดยวางแผนหลักสูตรร่วมกันพิจารณาขั้นตอน การประเมินผลหลักสูตรซึ่งข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะใช้เป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจ เพื่อวางแผนในอนาคตต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น