ขั้นตอนการสร้างทฤษฏี
ในการสร้างทฤษฏีมีกฎพื้นฐาน
2 ประเด็นที่ควรคำนึงถึง ได้แก่
(1.)
การนิยาม หรือการทำความชัดเจนเกี่ยวกับ “คำเฉพาะ” ถ้อยคำที่นำมาสร้างทฤษฎีต้องมีความกระจ่างชัด
ในการนิยามต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย
(2.)
การจัดหมวดหมู่ โดยนักทฤษฎีจะรวบรวมเนื้อหาสาระให้เป็นระบบระเบียบ
และรวบรวมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การสร้างทฤษฏีหลักสูตร
โบแชมพ์
(Beauchamp 1981: 77)
ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design
theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)
การออกแบบหลักสูตร
(Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย
เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
โบแชมพ์
(Beauchamp 1981: 107-109)
ได้สรุปองค์ประกอบสำคัญซึ่งจะต้องเขียนไว้ในเอกสารหลักสูตร 4 ประการ คือ
เนื้อหาสาระและวิธีการจัด
จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน
และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร
2.
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร
(Engineering theories) หมายถึง
กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่
การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร กนได้มากที่สุดการใช้หลักสูตร
และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร หลักสูตรที่มีคุณภาพและสามารถ
ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ
ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต
รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ
และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร
ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี
หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร
และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร
การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น