พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
ในการจัดทําหลักสูตรนั้นนักพัฒนาหลักสูตรต้องคํานึงอยู่เสมอว่าต้องพยายามจัดหลักสูตรให้สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง
ด้วยการศึกษาข้อมูล พื้นฐานเกี่ยวกบตัวผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร
มีความต้องการและความสนใจอะไร มีพฤติกรรมอย่างไร
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจิตวิทยาทั้งสิ้น
ดังนั้นข้อมูลพื้นฐานทางด้านจิตวิทยาจึงเป็นส่วนสําคัญที่นักพัฒนาหลักสูตรจะละเลยมิได้ในการนํามาวางรากฐานหลักสูตร
เช่น การกําหนดจุดมุ่งหมายหลักสูตร การกําหนดเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่เหมาะสม
ที่สุดนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของจิตวิทยา โดยเฉพาะ
จิตวิทยาพัฒนาการ(developmental psychology) และจิตวิทยาการเรียนรู้
(psychology of learning) ซึ่งจิตวิทยาทั้ง 2
สาขานี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดทําหลักสูตรโดยตรง นอกจากนี้
นักพัฒนาหลักสูตรยังให้ความสําคัญกับจิตวิทยาทั่วไป (generalpsychology)ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
จิตวิทยาพัฒนาการกับการพัฒนาหลักสูตรจิตวิทยาพัฒนาการจะบอกถึงพัฒนาการของมนุษย์ทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคม และเชาวน์ปัญญา ทําให้ทราบถึงความสามารถ ความสนใจ ความต้องการ เจตคติ
และศักยภาพด้านต่าง ๆ ที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนองค์ประกอบของพัฒนาการของมนุษย์มี
2 ประการคือ
1. วุฒิภาวะ (maturity) หมายถึง
กระบวนของความเจริญเติบโตสูงสุดของอินทรีย์ในร่างกายที่ทําให้เกิดความพร้อมที่จะทํากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นโดยไม่ต้องอาศัยการฝึกฝนหรือเรียนรู้ใด
ๆ หรือเป็นไปโดธรรมชาติ
2. การเรียนรู้ (learning) เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจาก
ประสบการณ์ การเรียนรู้อาจเกิดขึ้นด้วยการจูงใจ
หรืออาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจก็ได้พัฒนาการและการเจริญเติบโตของมนุษย์ แบ่งออกเป็น
2 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย (physical
development) เป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านโครงสร้างทั้งขนาดรูปร่าง
และการทํางานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
2. พัฒนาการทางด้านสติปิญญา (mental
development) เป็นความเจริญงอกงามที่บ่งบอกถึงการเพิ่มพูนความ
สามารถในประกอบกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
และรวบรวมความรู้ความเข้าใจไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นพัฒนาการทางด้านความคิด ความจํา
และความเข้าใจ
การวางหลักสูตรต้องกําหนดเนื้อหาวิชาให้เป็นลําดับจากง่ายไปสู่เนื้อหาที่ซับซ้อนขึ้น
สอดคล้องกับลําดับขั้พัฒนา การด้านต่าง ๆ
ของผู้เรียนและคํานึงถึงวุฒิภาวะและความพร้อมของผู้เรียน
จิตวิทยาการเรียนรู้กับการพัฒนาหลักสูตร
จิตวิทยาการเรียนรู้จะบอกถึงธรรมชาติของการเรียนรู้
การเกิดการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้
สามารถนําไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพแนวคิดของนักจิตวิทยาที่เกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้มี
3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดังนี้
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist theory)
2.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (humanist theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ
(motivation theory)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (behaviorist
theory)
1.
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มความรู้นิยมหรือปัญญานิยม (cognitivist
theory)
นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยมให้ความสนใจในการศึกษาปัจจัยภายในตัวบุคคลที่เรียกว่าโครงสร้างทางปัญญา
(cognitive structure) ที่มีผลต่อความจํา
การรับรู้และการแก้ปัญหาของบุคคล นักจิตวิทยากลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการกระทําต่าง
ๆ ของบุคคลนั้นเกิดขึ้นจากตัวบุคคลนั้นเองไม่ใช่ เกิดจากเงื่อนไข
บุคคลเป็นผู้กระทํา สภาพแวดล้อมที่จะทําให้บุคคลเรียนรู้ได้ดีนั้นจะต้องเป็นสภาพแวดล้อมที่บุคคลรับรู้และมีความหมายต่อบุคคลเท่านั้น
อีกทั้งสิ่งใดที่บุคคลได้เรียนรู้มาก่อนจะมีผลต่อการเรียนรู้ในปัจจุบัน ดังนั้น
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่บุคคลได้เรียนรู้มาแล้ว
เพื่อจะได้จัดประสบการณ์ที่มีความหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพตัวอย่างนักจิตวิทยากลุ่มนี้
เช่น เกสตอลส์ (Gestalt) วิลเลี่ยม เจม (William
Jame) จอห์น ดิวอี้ (JohnDewey) เอดวาร์ด
โทลแมน (Edword Tolman)พีอาเจต์ (Piaget) และบูรเนอร์ (Burner)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (humanist
theory) หรือกลุ่มแรงจูงใจ (motivation theory)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้คํานึงถึงความเป็นคนของคน
มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดี
มนุษย์เป็นผู้ที่มีอิสระสามารถนําตนเองและพึ่งตนเองไดh เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ทําประโยชน์ให้สังคม
มีอิสระที่จะเลือกทําสิ่งต่าง ๆ ยึดการเรียนรู้จากแรงจูงใจเป็นหลัก
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ไม่ยอมรับว่าการเรียนรู้เกิดจากการกําหนดเงื่อนไขและกลไกต่าง ๆ
แต่เขาให้ความสนใจในลักษณะเฉพาะซึ่งเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลโดยเนนสิ่งที่เรียกว่าตัวตน
(self)
ตลอดจนความมีอิสรภาพการที่
บุคคลได้มีโอกาสเลือก การกําหนดด้วยตนเอง (self
determinism) และการเจริญงอกงามส่วนตน (growth) ซึ่งลักษณะของการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มนี้จะเน้นที่เด็กเป็นศูนย์กลาง
(child - centered) นักจิตวิทยากลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป
ซึ่งมีอิทธิพลในการจัดการเรียนรู้คือโรเจอร์(Rogers) และมาสโลว์
(Maslow)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(behaviorist
theory)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นที่การศึกษาพฤติกรรมของบุคคลที่สามรรถสังเกตเห็นได้เป็นหลัก
โดยมีความเชื่อว่าปัจจัยหลักที่มีผลต่อพฤติกรมของมนุษย์นั้นน่าจะมาจากสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อม
นั่นคือ
ถ้าครูสามารถจัดสิ่งเร้าในสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถทําให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมที่มีการกล่าวถึงเสมอคือ วัตสัน (Watson) กาเย่ (Gagne) สกินเนอร์ (Skinner) พาฟลอฟ (Parlor) ธอนร์นไดค์(Thorndike)และกัททรี (Guthrie)
ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้จะทําให้ได้แนวคิดในการจัดทําหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน
เช่น
- หลักสูตรจะต้องคํานึงถึงการฝึกหัด
เพราะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการแก้ปัญหา
การค้นคว้า และวิธีการอื่นๆ ที่ส่งเสริมการหยั่งรู้
- หลักสูตรควรมีความยืดหยุ่น
โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนบางรายวิชา ตามความถนัดและความสนใจ
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้มีสถานที่เป็นแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
จิตวิทยาทั่วไปกับการพัฒนาหลักสูตร
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาทั่วไปที่นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องคํานึงถึงในการพัฒนาหลักสูตร
ได้แก่
1. ความพร้อม (readiness) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นในร่างกายและจิตใจที่สามารถพัฒนาขึ้นได้จากการจัดประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม
2. เจตคติ (attitude) หมายถึง
ท่าทีที่บุคคลมีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะสังเกตได้จากการแสดงออก ท่าทาง คําพูด
3. แรงจูงใจ (motive) และการจูงใจ
(motivation) แรงจูงใจช่วยส่งเสริมให้ทํางาน จนสําเร็จ
และนําพฤติกรรมของตนไปให้ตรงทิศทาง
ส่วนการจูงใจกับวิธีการชักจูงให้บุคคลกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ผู้ชักจูงต้องการ
4. การถ่ายโยงการเรียนรู้ (transfer of
learning) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่นําไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่
ๆ และนําผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน
การถ่ายโยงการเรียนรู้เกิดจากความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนมา
เจตคติที่จะรับรู้ต่อไปประกอบกับทักษะของการฝึกฝนสิ่งที่กําลัง
เรียนรู้อยู่จนเกิดความเข้าใจใหม่
5. การจํา การลืม การคิด (memory,
forget, thinking) การจํา หมายถึง
ความสามารถทางสมองที่จะเก็บหรือคงที่สิ่งที่ได้เรียนรู้ไว้นานในช่วงเวลาที่ควรจํา
การลืม หมายถึง การไม่รักษาความจําไว้ได้ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
การคิด เป็นกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นในสมอง
ซึ่งบางครั้งอาจต่อเนื่องมาจากความจําข้อมูลทางด้านจิตวิทยาทั่วไป
จะทําให้ได้แนวคิดในการจัดทําหลักสูตรที่เหมาะสม กับ ผู้เรียน เช่น
การกําหนดเนื้อหาในวิชาทักษะต้องยึดหลักความพร้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น