ตรวจสอบทบทวน
(Self-Test)
1. จงนำเสนอแนวคิดต่อพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านต่าง
ๆ ด้านใดมีความสำคัญและควาจำเป็นมากที่สุดหรือน้อยที่สุด
ตอบ แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์
ตอบ แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร
หลักสูตรที่วางอยู่บนทฤษฎีจะสะท้อนให้เห็นลักษณะของหลักสูตรที่ยึดสนามเป็นหลัก แต่ก็ยังมีลักษณะเฉพาะในด้านเนื้อหา ในด้านกิจกรรม และจะเน้นที่การแก้ปัญหาการค้นคว้า ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์และบรูเนอร์ จะมีความแตกต่างกันในเรื่องความพร้อมของผู้เรียน เพียเจท์ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ของการเร่งให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเร่งเพราะจะทำให้ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เพราะผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้นก้ต่อเมื่อมีความพร้อม แต่สำหรับบรูเนอร์กล่าวไว้ว่า ไม่ว่าวิชาใดที่สามารถนำมาสอนให้แก่เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ขั้นของพัฒนาการ จึงทำให้ความพร้อมของเด็กไม่มีความจำเป็นเลยต่อการจัดเนื้อหาของหลักสูตร
ความเชื่อและความคิดของเพียเจท์เกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาทางสติปัญญาของเด็ก จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรได้เป็นอย่างมากในการกำหนดเนื้อหา และกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละวัยเช่นเดียวกับแนวคิดของการพัฒนาทางสติปัญญาของบรูเนอร์
แนวคิดของคาร์ล
โรเจอร์
คาร์ล อาร์ โรเจอร์
จะเน้นการเรียนรู้ในประเด็นที่ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ถ้าผู้เรียนมีแรงจูงใจ มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้ในสิ่งนั้น
บรรยากาศของการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่สนับสนุนกิจกรรมการสอนที่ปฏิบัติกันอยู่เพราะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนเรียนในสิ่งที่ครูอยากจะให้เขารู้
จึงมีความเชื่อว่า
การสอนหรือการถ่ายทอดความรู้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อสังคมหยุดอยู่กับที่ไม่เปลี่ยนแปลง
คาร์ล โรเจอร์ จะไม่เน้นการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เน้นถึงบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. ความจริง หมายถึง
ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้จะต้องประพฤติและปฏิบัติตนให้เป็นไปตามความเป้นจริงตามธรรมชาติ
หรือแก่นแท้ของตนเอง
2. การยอมรับและการให้เกียรติผู้เรียน หมายถึง
ครูหรือผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ จะมีทัศนคติเกี่ยวกับการยอมรับ ไว้ใจ
และให้เกียรติต่อความรู้สึก ความเชื่อ ความคิดเห็นของผู้เรียน
และผู้เรียนต้องยอมรับว่าบุคคลทุกคนต่างก็มีความหมายในตัวของตนเอง
3. ความเข้าใจ จะเป็นตัวเสริมสร้างบรรยากาศที่ดี
เป็นความเข้าใจที่เกิดจากความเป็นกลาง ไม่มีอคติ ไม่มีการประเมินเข้ามาเกี่ยวข้อง
ในทำนองรู้จักเอาใจเรามาใส่ใจเขา ไม่ตำหนิติเตียน
แนวคิดของอาเทอร์
โคมส์
อาเทอร์ เป็นศิษย์คนสำคัญของคาร์ล โรเจอร์
ที่พยายามเผยแพร่การเรียนรู้ด้านแรงจูงใจ
และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้เชิงเชิงจิตลักษณะเชื่อว่าเจตคติ ความรู้สึก
และอารมณ์ของนักเรียนมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 4 ประการ ดังนี้
1. สมององคนเราเกี่ยวข้องกับความหมายโดยตรง
2.
การเรียนรู้คือการค้นพบความหมายของแต่ละคน
3. ความรู้สึกและอารมณ์เป็นเสมือนดัชนีของความหมาย
4. องค์ประกอบเชิงความรู้สึกที่ใช้ในการเรียนรู้
อาเทอร์ โคมส์ ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเตือนใจไว้ว่า
ในบางครั้งความจริงเกิดขึ้นเหมือนกันที่ผู้สนับสนุนความสำคัญของความหมายได่ทุ่มเทและยึดอยู่กับความเข้าใจตนเอง
ค่านิยม หรือความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งมากกว่าลักษณะปกติของหลักสูตร
และจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่วงการจัดการศึกษาเชิงจิตลักษณ์
แต่ความผิดพลาดยังเสียหายน้อยกว่าความผิดพลาดของคนที่ไม่ยอมรับ
และไม่ทราบถึงธรรมชาติหน้าที่สำคัญของความรู้สึก
และอารามณ์ที่เกิดจากการวิจัยและทฤษฎี
แนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจ จะมีประโยชน์อย่างมากในการวางแผนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผลคือ
เน้นบรรยากาศการเรียนการสอนที่ให้ความสบายใจแก่ผู้เรียน
และการยอมรับคุณค่าของกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน
นอกจากนี้การจัดหลักสูตรโดยอาศัยแนวคิดของกลุ่มแรงจูงใจจะเน้น
และให้ความสำคัญในการปลูกฝังทางด้านจิตลักษณะ ได้แก่ ความรู้สึก เจตคติ
และบุคลิกภาพที่ดี
การพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม รวมไปถึงพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญดังต่อไปนี้
การพัฒนาหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานในการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งประกอบด้วยพื้นฐานอย่างน้อย 3 ด้าน คือ พื้นฐานด้านปรัชญา พื้นฐานด้านจิตวิทยา และพื้นฐานด้านสังคม รวมไปถึงพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญดังต่อไปนี้
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านปรัชญา
ปรัชญาการศึกษานั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาหลักสูตร
โดยใช้กำหนดจุดมุ่งหมาย เลือกเนื้อหาสาระและนำมาจัดหลักสูตรได้อย่างเป็นระบบ
ทำให้หลักสูตรนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปรัชญากับการศึกษามีความสัมพันธ์กันคือ ปรัชญามุ่งศึกษาชีวิตและจักรวาล ส่วนการศึกษามุ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์
ปรัชญาและการศึกษามีจุดสนใจร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งคือ
การจัดการศึกษาต้องอาศัยปรัชญาในการกำหนดจุดมุ่งหมายและหาคำตอบทางการศึกษา
ปรัชญาการศึกษา คือ แนวความคิด หลักการ
และกฎเกณฑ์ ในการกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา
นอกจากนี้ปรัชญาการศึกษายังพยายามทำการวิเคราะห์และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา
สามารถมองเห็นปัญหาของการศึกษาได้อย่างชัดเจน
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านจิตวิทยา
ในการจัดทำหลักสูตรนั้น
นักพัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางจิตวิทยา
ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความต้องการและความสนใจอะไร
มีพฤติกรรมอย่างไร
จิตวิทยาการเรียนรู้จะถูกนำมาใช้เพื่อให้ได้ความรู้ในเรื่องธรรมชาติของการเรียนรู้และปัจจัยทางจิตวิทยาที่ส่งเสริมการเรียนรู้
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยแบ่งทฤษฎีการเรียนรู้ได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitivism)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism)
4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มสรรค์สร้างนิยม (Constructivism)
นอกจากข้อมูลที่เกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้แล้ว ในการพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านผู้เรียนซึ่งมีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องดังนี้
โดนัล
คลาก (Donald
Clark) กล่าวว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความจำเป็นและใช้ประโยชน์ได้มาก
เมื่อต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเสนอโปรแกรมการเรียนการสอนซึ่งประกอบด้วยข้อมูลต่างๆดังต่อไปนี้
- จำนวนผู้เรียน
- ทำเล/ที่ตั้งของผู้เรียน
- การศึกษาและประสบการณ์ของผู้เรียน
รวมถึงประสบการณ์ในปัจจุบัน
- ภูมิหลังของผู้เรียน
- ระดับความสามารถในการปฏิบัติงานที่ต้องการกับระดับทักษะในปัจจุบัน
- ความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรมของผู้เรียน
- สิ่งเร้าของผู้เรียน
- แรงจูงใจของผู้เรียน
- ความสามารถทางสติปัญญาของผู้เรียน
- ความสนใจพิเศษหรืออคติของผู้เรียน
พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคม
ข้อมูลพื้นฐานด้านสังคมที่สำคัญที่ควรศึกษาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพของสังคม และแนวคิดของการพัฒนาการทางสังคมซึ่งมี 5
ยุคคือ
1. ยุคเกษตรกรรม
2. ยุคอุตสาหกรรม
3. ยุคสังคมข่าวสารข้อมูล
4. ยุคข้อมูลพื้นฐานความรู้
5. ยุคปัญญาประดิษฐ์
การศึกษาข้อมูลดังกล่าวนั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับผู้เรียนในยุคสมัยต่างๆ
ประการสำคัญอีกประการหนึ่งในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสังคมนั้นมุ่งการสร้างเครือข่ายหรือความร่วมมือของชุมชนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร
เพราะบางรายวิชา
สภาพชุมชนและสังคมไม่เอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควรก็อาจเป็นอุปสรรคในการจัดการศึกษา โดยข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรด้านสังคมนี้
สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารรายงานต่างๆ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจ
สอบถาม และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก
การศึกษาจึงต้องสอดคล้องไปกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประกอบการกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร
และวิธีการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือกำหนดเนื้อหาที่พอเพียง ทันสมัย
ให้ผู้เรียนได้ทราบถึงผลกระทบที่เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
กำหนดให้ใช้วิธีการและสื่อการเรียนอันทันสมัย เช่น การสอนแบบทางไกล
การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเทอร์เน็ต (internet) ในการจัดการเรียนรู้ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรใน 2 ลักษณะคือ
1. นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาคนให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงในสังคม
2. ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ในการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดังนั้นการศึกษาข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มีผลทั้งในปัจจุบันและแนวโน้มความเจริญในอนาคต
จะทำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถพัฒนาคนในสังคมให้มีศักยภาพเหมาะสมกับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตามความต้องการของสังคม
พื้นฐานทางด้านการเมือง
การปกครอง
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา
หน้าที่ที่สำคัญของการศึกษาคือ
การสร้างสมาชิกที่ดีให้กับสังคมให้อยู่ในระบบการเมืองการปกครองทางสังคมนั้น
หลักสูตรจึงต้องบรรจุเนื้อหาสาระและประสบการณ์ที่จะปลูกฝังและสร้างความเข้าใจให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพของสังคม
เช่น การมุ่งเน้นพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย เป็นต้น
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองที่ควรจะนำมาปรับพื้นฐานประกอบการพิจารณาในการพัฒนา
หลักสูตร เช่น ระบบการเมือง ระบบการปกครอง นโยบายของรัฐ เป็นต้น
พื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมที่มีสภาพเศรษฐกิจดี
จะทำให้สามารถจัดการศึกษาให้กับคนในสังคมได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ประเด็นที่ควรพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
1. การเตรียมกำลังคน
การศึกษาผลิตกำลังคนในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ พอเหมาะ
สอดคล้องกับความต้องการในแต่ละสาขาอาชีพ คือมีความรู้ ทักษะ และคุณสมบัติต่าง ๆ
ตรงตามที่ต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ
2. การพัฒนาอาชีพ
จัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาอาชีพตามศักยภาพและท้องถิ่น
3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
พัฒนาหลักสูตรให้สามารถพัฒนาคนให้มีความพร้อมสำหรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
4. การใช้ทรัพยากรให้หลักสูตรเป็นเครื่องปลูกฝังความสำคัญของทรัพยากร
ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5. การพัฒนาคุณลักษณะของบุคคลในระบบเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของสังคม
6. การลงทุนทางการศึกษา
คำนึงถึงคุณค่าและผลตอบแทนของการศึกษา
เพื่อไม่ก่อให้เกิดความสูญเปล่าระบบการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น